เทคโนโลยี Virtualization ได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบดิจิทัลมาหลายปี แพลตฟอร์มเสมือนได้กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างๆ เริ่มมองหาโครงสร้างทางดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และมีความเสถียรมากขึ้น หากสงสัยว่า VMware คืออะไร VMware เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการซอฟต์แวร์และผลิตภัณฑ์เสมือนให้แก่หลายองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากรไอที ตัวอย่างโซลูชันของ VMware ได้แก่ vSphere สำหรับการจัดการเครื่องเสมือน และ NSX สำหรับการจำลองเครือข่าย ช่วยให้องค์กรบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนของ VMware เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ Broadcom เข้าซื้อกิจการในปี 2023 หลังจากการเข้าซื้อกิจการ Broadcom ได้เริ่มเปลี่ยนแปลง Licensing Structure ของ VMware ส่งผลให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ และวางแผนในการมองหา ทางเลือกอื่นทดแทน VMware

บริษัท VMWare ได้เริ่มปรับโมเดลบริการเป็นแบบพิเศษเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้น พร้อมลดจำนวนพนักงาน และถอนการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ในขณะที่ยังคงเปลี่ยนแปลงต้นทุน ฟีเจอร์ และบริการต่างๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังนำไปสู่การที่ Dell ยกเลิกความร่วมมือกับ VMware ปัจจุบันบริษัทจำนวนมากกำลังมองหาทางเลือกทดแทน VMware เพื่อรองรับความต้องการด้านเทคโนโลยีเสมือน แม้ว่า Sangfor Technologies จะโดดเด่นในฐานะ ทางเลือกที่ดีสำหรับทดแทน VMware ด้วยชุดผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ของ VMware แต่เราก็จะพามาสำรวจคู่แข่งและทางเลือกทดแทน VMware ทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด

ในบทความนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานแบบ Hyper-Converged และการทำเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Server Virtualization) พร้อมเหตุผลที่ลูกค้ากำลังมองหาทางเลือกทดแทน VMware จนถึงปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกทางเลือกอื่นทดแทน และรายชื่อทางเลือกหลักๆ ที่มีในตลาดปี 2024

​​​​​​​พาเจาะลึกลิสต์โซลูชันทางเลือก เมื่อต้องการเปลี่ยน VMWare

โครงสร้างพื้นฐานแบบ Hyper-Converged คืออะไร?

โครงสร้างพื้นฐานแบบ Hyper-Converged หรือ HCI คือ ระบบแบบรวมศูนย์ (Unified) ที่รวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล เครือข่าย และการจัดการไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ผ่านการกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และปลอดภัย พร้อมลดต้นทุน และปรับขนาดการดำเนินงานได้ (Scalable Operation)

การทำ Server Virtualization และ Hypervisor คืออะไร?

การทำเซิร์ฟเวอร์เสมือน Server Virtualization คือ กระบวนการสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือน แทนการใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Physical Server) เพียงเครื่องเดียวที่ประมวลผลข้อมูลทั้งหมด การทำเซิร์ฟเวอร์เสมือนช่วยให้บริษัทสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์จำลองหลายเครื่อง โดยแต่ละเครื่องมีฟังก์ชันหลักและการทำงานแยกกันอย่างอิสระ นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดความซับซ้อนของเซิร์ฟเวอร์ และการปรับใช้งานเป็นไปอย่างเร็วขึ้น

เพื่อให้ เซิร์ฟเวอร์เสมือนสามารถทำงานได้ จำเป็นต้องมีโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการจัดการ ซึ่งเรียกว่า Hypervisor โดย Hypervisor มีหน้าที่ในการสร้างและใช้งาน Virtual Machines โดยเราสามารถแบ่งซอฟต์แวร์นี้ออกเป็นสองประเภท

ประเภทของ Hypervisor

Hypervisor ทั่วไปจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างองค์ประกอบ Virtual Elements และ Physical Resource หรือทรัพยากรทางกายภาพในระบบ เช่น Processor, CPU, RAM และอื่นๆ โดย Hypervisor จะจัดสรรการประมวลผลและทรัพยากรให้กับคอมพิวเตอร์โฮสต์ จึงช่วยให้สามารถเรียกใช้ระบบปฏิบัติการเสมือนได้หลายระบบ

Hypervisor มีสองรูปแบบหลัก ได้แก่

1. Type 1 Hypervisor

มีอีกชื่อหนึ่งว่า Bare-Metal Hypervisor นั้นทำงานโดยตรงบนฮาร์ดแวร์ของโฮสต์ และต้องการเข้าถึง Physical Resource โดยตรง โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นระบบปฏิบัติการแบบเบา (Lightweight) ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้มีความปลอดภัยสูง จึงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจ ทั้งนี้ การกำหนดค่าและการจัดการอาจมีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง

2. Type 2 Hypervisor

เรียกอีกอย่างว่า Hosted Hypervisor โดย Hypervisor ชนิดนี้จะทำงานบนระบบปฏิบัติการของโฮสต์ ที่มีอยู่แล้ว โดยจะติดตั้งควบคู่ไปกับระบบปฏิบัติการและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน แม้ว่าวิธีนี้อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานบ้าง แต่ก็มีข้อดีในแง่ของความยืดหยุ่นและความสะดวกในการใช้งาน

การทำความเข้าใจพื้นฐานของโครงสร้าง Virtualization Structure เป็นกุญแจสำคัญในการพิจารณาทางเลือกเพื่อให้สามารถหาโซลูชันทดแทนที่เหมาะสม ซึ่งแน่นอนว่าการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปใช้แพลตฟอร์ม Virtualization ใหม่อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับหลายองค์กร ดังนั้น มาทำความเข้าใจกันว่า ทำไมการตัดสินใจครั้งนี้จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ

ทำไมใครต่างมองหาทางเลือกทดแทน VMware?

การเปลี่ยนแปลงเจ้าของบริษัท VMware ผลักดันให้ลูกค้าหลายรายพิจารณาแพลตฟอร์มเสมือนใหม่ โดยเฉพาะส่วนใหญ่พบว่าการใช้งาน VMware มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จึงเริ่มมองหาทางเลือกอื่นๆ แทน โดย Forrester คาดการณ์ว่า 20% ของลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของ VMware จะเริ่มออกจากระบบ VMware Stack ภายในปี 2024 โดยมีเหตุผลหลัก ได้แก่

  • ต้องการความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น
  • การบูรณาการกับระบบที่มีอยู่ล้มเหลว
  • ปัญหาด้านประสิทธิภาพ
  • ความคุ้มค่าด้านต้นทุน
  • ปัญหาด้านการปรับขนาด
  • ความซับซ้อนในการใช้งานและบำรุงรักษา
  • ต้องการหลีกเลี่ยงการผูกติดกับผู้ให้บริการรายเดียว

เหตุผลที่กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นเหตุผลที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม แต่ละองค์กรที่ต้องการเปลี่ยน VMWare เป็นระบบอื่นๆ ล้วนมีโจทย์ความต้องการที่ต่างกัน ต่อไป เรามาดูกันว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเมื่อต้องเริ่มดำเนินการ Replace VMWare

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโซลูชันทดแทน VMware

การย้ายไปใช้ทางระบบอื่นๆ แทน VMware อาจเป็นเรื่องยากหากไม่รู้ว่าต้องมองหาอะไร โดยเราได้รวบรวมปัจจัยหลักที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกโซลูชันทดแทน VMware ดังนี้

1. ต้นทุน (Cost)

  • ควรพิจารณางบประมาณที่มีและผลตอบแทนที่องค์กรคาดหวังว่าจะได้รับ
  • Virtualization โดยทั่วไปนั้นมีค่าใช้จ่ายหลายรายการ ทั้ง OS Licenses, ฮาร์ดแวร์, การสนับสนุน และการฝึกอบรม

2. ความเข้ากันได้ (Compatibility)

  • ระบบ Virtualization ที่เลือกควรเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการที่องค์กรใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากระบบ Virtualization จากผู้ให้บริการบางรายอาจมีข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์และองค์ประกอบที่ใช้ได้

3. ความง่ายในการใช้งาน (Ease of Use)

  • โซลูชัน Virtualization ควรมีการใช้งานและบำรุงรักษาที่ง่าย แนะนำให้เลือกใช้ระบบที่สามารถช่วยลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม บริการ และการสนับสนุนด้านต่างๆ

4. ความสามารถในการปรับขนาด (Scalability)

  • โครงสร้างพื้นฐานของระบบ Virtualization นั้นๆ ต้องรองรับการเติบโตของธุรกิจ และขยายตัวไปด้วยกันได้ และสามารถปรับใช้ Virtual Machine หลายเครื่องตามความต้องการ

5. ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ (Performance and Reliability)

  • ระบบ Virtualization ต้องสามารถรักษาระดับประสิทธิภาพที่มั่นคง ปลอดภัย และทำงานเสถียร
  • โดยอาจเลือกจากแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือและมีการรีวิวเชิงบวก

6. การสนับสนุนและบริการ (Support and Service)

  • ผู้ให้บริการโซลูชัน Virutalization ควรมีทีมสนับสนุนที่ตอบสนองรวดเร็ว มีความเชี่ยวชาญ และเชื่อถือได้ พร้อมให้การสนับสนุนอย่างครอบคลุม เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้โดยไม่มีข้อขัดข้อง

7. ขนาดขององค์กร (Organization Scale)

  • ก่อนตัดสินใจใช้บริการ ควรพิจารณาขนาดองค์กรเพื่อประเมินระบบการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม
  • ควรประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Threats) ที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ให้บริการทางเลือกในการทดแทน VMWare

ในการเลือกผู้ให้บริการระบบ Virtualization แทน VMWare นั้น สิ่งสำคัญคือ การทำความเข้าใจผู้ให้บริการนั้นๆ รวมถึงความสามารถหลักๆ ของแพลตฟอร์มที่นำเสนอ เพื่อให้สามารถเลือกโซลูชันได้อย่างมั่นใจ ดังนั้น มาดูทางเลือกทดแทนอันดับต้นๆ ในตลาดปัจจุบันกันเลย

1. Sangfor Hyper-Converged Infrastructure

Sangfor Technologies ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 เป็นบริษัทไอทีชั้นนำที่นำเสนอโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง ด้วยการลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง Sangfor จึงได้สร้างชื่อเสียงในฐานะผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมระดับโลก

Sangfor Hyper-Converged Infrastructure ใช้สถาปัตยกรรม 3rd-Generation Cloud Computing Architecture ที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างง่ายดาย ในขณะที่ยกระดับความปลอดภัยไปพร้อมกัน โดย Sangfor HCI ได้รับการยอมรับจาก Gartner ในฐานะแพลตฟอร์ม Virtualization ที่มีความสามารถด้านการสำรองข้อมูลและการป้องกันข้อมูลที่ครอบคลุม จึงพูดได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มทดแทน VMWare ได้อย่างดีเยี่ยม อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ เกี่ยวกับ การแทน VMWare ด้วย Sangfor HCI

ข้อดีของ Sangfor HCI

  • ความเสถียรสูง: เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้และให้บริการโซลูชันVirtualization ที่มั่นคง
  • ใช้งานง่าย: อินเตอร์เฟซกราฟิก (GUI) ใช้งานง่ายและให้การมองเห็นที่ครบถ้วน
  • การย้ายและติดตั้งง่าย: รับประกันการย้ายระบบที่ราบรื่นโดยมีการหยุดชะงักน้อยที่สุด
  • ความปลอดภัยขั้นสูง: การบูรณาการด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม
  • บริการสนับสนุนที่เชื่อถือได้: ให้บริการสนับสนุนที่เชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ

ข้อเสียของ Sangfor HCI

  • ความสามารถในการบูรณาการมีจำกัด: Sangfor HCI สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นได้อีก ในแง่นโยบายการบูรณาการ
  • การสนับสนุนใน Forum มีจำกัด: เนื่องจากขนาดที่เล็กกว่าในอุตสาหกรรม อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาฐานผู้ใช้งานที่ให้การสนับสนุนบนช่องทางออนไลน์

2. Citrix XenServer Hypervisor

Citrix เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสำหรับโครงสร้างพื้นฐานการทำงานระยะไกล (Remote Work) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1989 ปัจจุบัน บริษัทฯ ให้บริการด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความพร้อมใช้งานของแอปพลิเคชันภายใต้ Cloud Software Group

Citrix Hypervisor เป็นโซลูชันการจัดการระบบเสมือน (Virtualization Management Solution) ที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมการรองรับกราฟิก 3D ที่โดดเด่น ทั้งยังสามารถรันระบบปฏิบัติการ Windows และ Linux ได้ราบรื่น แพลตฟอร์มนี้ได้รับการ Optimize มาเป็นพิเศษสำหรับ Application Virtualization Infrastructure ทำให้สามารถจัดการ Workload ประเภทต่างๆ ระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย รวมถึงการตั้งค่าการจัดเก็บข้อมูลและเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น พร้อมบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมของระบบได้ง่ายยิ่งขึ้น

ข้อดีของ Citrix XenServer Hypervisor

  • ประสิทธิภาพและการปรับขนาด: โซลูชันนี้ถูกสร้างมาเพื่อการทำ Virtualization และการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร
  • คุ้มค่า: ฟรีสำหรับลูกค้า Citrix Virtual Apps และ Desktops
  • ความยืดหยุ่นและความเข้ากันได้: รองรับระบบปฏิบัติการของ Guest ได้หลากหลาย และใช้งานร่วมกับโซลูชันอื่นๆ ของ Citrix ได้อีกด้วย
  • การทำ Virtualization ที่ง่ายขึ้น: การปรับใช้ VM ที่รวดเร็วช่วยให้การติดตั้งซอฟต์แวร์ง่ายและรวดเร็ว

ข้อเสีย Citrix XenServer Hypervisor

  • ความท้าทายในการบูรณาการ: มีข้อจำกัดในการบูรณาการกับโซลูชันที่ไม่ใช่ Citrix
  • ใช้งานยากสำหรับมือใหม่: แพลตฟอร์มอาจมีความซับซ้อนสำหรับผู้เริ่มต้นในการเรียนรู้และจัดการ
  • การสนับสนุนจำกัด: มีฐานผู้ใช้ที่เล็กกว่า VMware จึงมีการสนับสนุนและเครื่องมือช่วยเหลือน้อยกว่า

3. Hyper-V by Microsoft

Microsoft ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมไอทีที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก บริษัทมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อน Digital Transformation และสนับสนุนให้ทุกองค์กรประสบความสำเร็จ โดย Microsoft Hyper-V เป็นทางเลือกทดแทน VMware ที่น่าสนใจ เพราะอนุญาตให้หลายระบบปฏิบัติการทำงานบนคอมพิวเตอร์โฮสต์เครื่องเดียว สามารถจัดการผ่าน GUI หรือ PowerShell และใช้ชุด API ที่ครอบคลุมสำหรับการทำงานอัตโนมัติ

ข้อดีของ Hyper-V

  • ความสามารถในการย้ายแบบ Live Migration: ช่วยให้ย้าย VM ที่กำลังทำงานระหว่างโฮสต์ได้โดยไม่มีการหยุดทำงาน
  • ความพร้อมใช้งานสูง: แพลตฟอร์มมีการรองรับว่า VM จะออนไลน์และทำงานตลอดเวลา
  • คุ้มค่า: แพลตฟอร์มมาพร้อมกับ Windows Server
  • รองรับ Linux: Hyper-V สนับสนุน Linux Distributions หลากหลาย

ข้อเสียของ Hyper-V

  • ความเข้ากันได้มีจำกัด: เข้ากันได้กับ Windows Server แต่อาจไม่เหมาะกับองค์กรที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่น
  • การเรียนรู้ที่ซับซ้อน: การตั้งค่าและจัดการอาจยากสำหรับผู้เริ่มต้น
  • การสนับสนุนจากบุคคลที่สามน้อย: มีเครื่องมือและส่วนขยายจากบุคคลที่สามจำกัด

4. Nutanix AHV Cloud Platform

Nutanix เป็นบริษัทคลาวด์ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการแพลตฟอร์มแบบ Unified สำหรับการรันแอปพลิเคชันและข้อมูลบนระบบคลาวด์หลากหลายรูปแบบ โดยเป้าหมายหลักของ Nutanix คือการลดความซับซ้อนด้านไอที และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่า ใช้งานง่าย และมีความคล่องตัวสูง

เพื่อเป็นทางเลือกทดแทน VMware บริษัทนำเสนอแพลตฟอร์ม Nutanix AHV ที่ขับเคลื่อนเครื่องเสมือน (VMs) และคอนเทนเนอร์ (Containers) สำหรับแอปพลิเคชันทั้งแบบออนพรีมิส (On-Premises) และคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ด้วยเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ (Automated Workflow) ระบบไฮเปอร์ไวเซอร์ (Hypervisor) นี้ช่วยทำให้การบริหารจัดการ VM และคอนเทนเนอร์ประจำวันง่ายขึ้น พร้อมทั้งลดความซับซ้อนในการปรับใช้งาน และมอบโซลูชัน Virtualization แบบครบวงจร

ข้อดีของ Nutanix AHV

  • โซลูชันแบบรวมศูนย์: ให้แพลตฟอร์มครบวงจรพร้อมเครื่องมือที่จำเป็นทั้งหมด
  • ปรับขนาดได้ยืดหยุ่น: รองรับการเติบโตขององค์กรได้อย่างราบรื่น
  • ความพร้อมใช้งานสูง: มีฟีเจอร์ VM live migration, dynamic scheduling, VM HA และ metro clustering
  • จัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ: มีฟีเจอร์ขั้นสูงเช่น memory overcommit, VM affinity และ vNUMA

ข้อเสียของ Nutanix AHV

  • การติดตั้งที่ซับซ้อน: ต้องการความเชี่ยวชาญและการฝึกอบรม
  • ความยุ่งยากในการบูรณาการและจัดการ: มีข้อจำกัดในการบูรณาการเครื่องมือจากบุคคลที่สาม

5. Oracle VM Server

Oracle ก่อตั้งขึ้นในปี 1977 เป็นบริษัทชั้นนำด้าน Cloud Computing และซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล บริษัทลงทุนอย่างมากในเทคโนโลยี Open-Source และมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกใช้งานทั่วโลกในหน่วยงานภาครัฐ บริษัทโทรคมนาคม และองค์กรด้านสาธารณสุข ซึ่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ระบบสำรอง และการจัดการงานที่ซับซ้อนเป็นสิ่งสำคัญ

Oracle VM Server เป็นทางเลือกแทน VMware ที่รองรับโครงสร้าง x86 และ SPARC รวมถึงระบบปฏิบัติการหลากหลายเช่น Linux, Windows และ Oracle Solaris แพลตฟอร์มนี้ยังมาพร้อมกับการพิสูจน์ตัวตนแบบ Remote Desktop Protocol (RDP) และ SDK เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและการยืนยันตัวตน

ข้อดีของ Oracle VM Server

  • เหมาะสำหรับการบูรณาการกับ Oracle: เพราะ Oracle VM Server ปรับแต่งมาเพื่อ Oracle Workloads โดยเฉพาะ
  • อินเตอร์เฟซใช้งานง่าย: มีการจัดการที่เรียบง่าย
  • ความปลอดภัยขั้นสูง: มีโซลูชันความปลอดภัยระดับองค์กร
  • การทำเสมือนเซิร์ฟเวอร์ที่ดีเยี่ยม: มีฟังก์ชัน Hypervisor ที่เหมาะสมและ Live Migration

ข้อเสียของ Oracle VM Server

  • ค่าใช้จ่ายสูง: มีค่า Licensing และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม
  • การเรียนรู้ที่ซับซ้อน: อาจยากสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานแพลตฟอร์ม
  • การบูรณาการกับ Third-Party มีจำกัด: เนื่องจาก Oracle VM Server ผูกติดกับระบบนิเวศของ Oracle เท่านั้น

6. VirtualBox for Desktop

Oracle VirtualBox เป็นซอฟต์แวร์ Virtualization แบบ Open-Source อีกตัวที่ได้รับความนิยม ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถรันเครื่อง VMs หลายเครื่อง บนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงเพียงเครื่องเดียว โดย VirtualBox สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการหลัก (Host) ได้ทั้ง Windows, macOS, Linux และ Solaris นอกจากนี้ยังรองรับระบบปฏิบัติการลูก (Guest) ได้หลากหลาย รวมถึง Windows, Linux, macOS, BSD หลายเวอร์ชัน รวมถึง Solaris เวอร์ชันต่างๆ ทั้งนี้ VirtualBox ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรัน Virtual Machine หลายเครื่องพร้อมกันได้ โดยแต่ละเครื่องมีชุดฮาร์ดแวร์ Visualization ของตัวเอง ซึ่งรวมถึง Virtual CPU, Memory, Storage และ Network Interfaces

ข้อดีของ VirtualBox

  • โหมดไร้รอยต่อ: รัน VM พร้อมกับแอปพลิเคชันโฮสต์ได้
  • ประสิทธิภาพสูง: รองรับ CPU เสมือนได้ถึง 32 หน่วยและดิสก์เสมือนขนาด 8TB
  • รองรับหลายแพลตฟอร์ม: ทำงานได้กับระบบปฏิบัติการโฮสต์หลากหลาย
  • ระบบ Snapshot: บันทึกสถานะ VM และย้อนกลับได้เมื่อต้องการ

ข้อเสียของ VirtualBox

  • การสนับสนุนองค์กรมีจำกัด: ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนเดสก์ท็อปเป็นหลัก
  • ประสิทธิภาพ: อาจไม่เหมาะกับงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง

7. Red Hat IBM Enterprise Linux

ในฐานะบริษัทในเครือของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง IBM ตั้งแต่ปี 2019 บริษัท Red Hat ได้ผสานเทคโนโลยี Hybrid Cloud และแพลตฟอร์มนวัตกรรมเพื่อนำเสนอโซลูชัน Enterprise Open-Source เพื่อเป็นทางเลือกแทน VMware โดย Red Hat Virtualization เป็นเครื่องมือที่จัดการภาระงานใน Environment ของ Linux และ Microsoft ได้อย่างราบรื่น ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้สามารถจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาอันสั้น อีกทั้งยังรองรับการติดตั้งขนาดใหญ่ที่ต้องการความหนาแน่นของเซิร์ฟเวอร์สูง โดยแพลตฟอร์มนี้ใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Kernel-based Virtual Machine (KVM) ในการประมวลผลแอปพลิเคชันและทรัพยากรเสมือน นอกจากนี้ยังสามารถขยายขนาดได้สูงสุดถึง 400 Hosts และรองรับภาระงานที่ผ่านการทดสอบสูงสุดประมาณ 1 VM ต่อ GB

ข้อดีของ Red Hat

  • พื้นฐานแบบ Open-Source: มีการสนับสนุนจากชุมชนและมีความยืดหยุ่นสูง
  • บูรณาการกับระบบนิเวศ Red Hat: ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ Red Hat อื่นๆ ได้อย่างราบรื่น
  • ความปลอดภัยขั้นสูง: มีการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ครอบคลุม

ข้อเสียของ Red Hat

  • การเรียนรู้ที่ซับซ้อน: แพลตฟอร์มอาจยากสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน
  • ข้อจำกัดการบูรณาการ: จำกัดการบูรณาการกับระบบนิเวศ Red Hat
  • ความซับซ้อนของ License: การจัดการ License ในบางพื้นที่อาจซับซ้อน

8. Proxmox VE - Open-Source Hypervisor 

บริษัท Proxmox มุ่งมั่นพัฒนาซอฟต์แวร์ Open-Source ที่มีประสิทธิภาพและทรงพลัง เพื่อทำให้การจัดการเซิร์ฟเวอร์ง่ายขึ้น และรับประกันการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ประหยัด ปลอดภัย และเป็น Open-Source แพลตฟอร์ม Proxmox VE เป็นทางเลือกแทน VMware ที่จัดการตั้งค่าระบบ Virtualization ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับประกันประสิทธิภาพที่โดดเด่น ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและฟีเจอร์ที่หลากหลาย ทำให้กลายเป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้ใช้ที่ให้ความสำคัญกับความเรียบง่ายและประสิทธิภาพการทำงาน

ข้อดีของ Proxmox VE

  • ฟรีและโอเพนซอร์ส: ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีการสนับสนุนจากชุมชน
  • ผสมผสานการเสมือนและคอนเทนเนอร์: ใช้ทั้ง KVM virtualization และ LXC containers
  • ความพร้อมใช้งานสูง: มีคลัสเตอร์ HA และฟีเจอร์ live migration
  • ระบบสำรองข้อมูลในตัว: มีฟีเจอร์สำรองและกู้คืนข้อมูล
  • อินเตอร์เฟซจัดการแบบรวมศูนย์: GUI ที่ใช้งานง่าย

ข้อเสียของ Proxmox VE

  • การเรียนรู้ที่ซับซ้อน: ระบบอาจยากสำหรับผู้เริ่มต้น
  • ระบบนิเวศจากบุคคลที่สามมีจำกัด: จำกัดการบูรณาการกับระบบนิเวศที่เล็กกว่า
  • ความต้องการทรัพยากร: ต้องการทรัพยากรฮาร์ดแวร์ที่เพียงพอสำหรับการปรับใช้งานขนาดใหญ่

9. SUSE Linux Enterprise Server

ก่อตั้งขึ้นในฐานะองค์กร Global Entity บริษัท SUSE นำเสนอโซลูชัน Open-Source ระดับองค์กร โดยบริษัทเป็นที่รู้จักด้านเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Linux การจัดการ Enterprise Containers และโซลูชัน Edge อีกด้วย SUSE Linux Enterprise Server (SLES) เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการเปลี่ยน VMware ด้วยความสามารถที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับภาระงานที่หลากหลายในสภาพแวดล้อม Virtual, Cloud และสภาพแวดล้อมแบบ Phyiscal ซึ่งแพลตฟอร์มนี้มอบความมั่นคง ปลอดภัย และขยายขนาดได้สำหรับความต้องการด้านระบบ Virtualization ให้กับธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Open-Source และการสนับสนุนระดับองค์กรที่แข็งแกร่ง

ข้อดีของ SLES

  • รองรับ KVM และ Xen Hypervisor: ให้ความยืดหยุ่นและการปรับแต่งหลากหลาย
  • ปรับขนาดได้: รองรับ Workload ขนาดใหญ่และ VM จำนวนมาก
  • ความพร้อมใช้งานสูง: มีความสามารถด้านคลัสเตอร์ขั้นสูง (Advanced Clustering) ซึ่งทำการ Failover และ Recovery อัตโนมัติ
  • บูรณาการคลาวด์: เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมคลาวด์ และแพลตฟอร์มคลาวด์ เช่น AWS, Azure และ Google Cloud เพิ่ม Uptime ในการดำเนินงาน Workload ที่สำคัญ
  • รองรับ Rollback ทั้งระบบ: มีระบบไฟล์ Btrfs ที่รองรับการย้อนกลับทั้งระบบ ลด Downtime และเพิ่มความเสถียรให้กับระบบ

ข้อเสียของ SLES

  • การเรียนรู้ที่ซับซ้อน: ระบบอาจยากสำหรับผู้เริ่มต้น
  • ข้อจำกัดด้าน Third-Party: อาจมีข้อจำกัดในการบูรณาการกับระบบอื่นๆ

10. Virtuozzo Hybrid Server

Virtuozzo เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์แบบ Hyper-Converge ที่ครบวงจร ซึ่งถูกใช้โดยผู้ให้บริการ ISVs และองค์กรต่างๆ อีกทั้งบริษัทฯ ยังให้บริการ OpenStack Infrastructure-as-a-Service, แบบพร้อมใช้งาน Multi-Cloud Platform-as-a-Service, การโฮสต์ Kubernetes, ระบบจัดเก็บข้อมูลที่รองรับ S3, การจัดการฐานข้อมูล Cloud Database และบริการคลาวด์อื่นๆ Virtuozzo Hybrid Server เป็นอีกหนึ่งทางเลือกแทน VMWare ที่นำเสนอแพลตฟอร์ม Virtualization ที่มีความอเนกประสงค์และมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผสมผสานเทคโนโลยี Virtual Machine แบบดั้งเดิม เข้ากับการทำ Containerization สมัยใหม่

ข้อเสียของ Virtuozzo Hybrid Server

  • พร้อมใช้งานบนคลาวด์: แพลตฟอร์มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อบูรณาการกับคลาวด์ทุกรูปแบบ ทั้งคลาวด์สาธารณะ คลาวด์ส่วนตัว และไฮบริดคลาวด์
  • บูรณาการ Virtualization และ Containerization: โดยแพลตฟอร์มรองรับทั้ง Virtual Machine และคอนเทนเนอร์ พร้อมจัดการทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่น
  • ความพร้อมใช้งานสูงและการกู้คืน (Recovery): มีฟีเจอร์ความพร้อมใช้งานสูง และมีฟีเจอร์ Disaster Recovery เพื่อเวลา Uptime ที่ต่อเนื่อง และป้องกันข้อมูลขององค์กร
  • ปรับขนาดได้: สามารถรองรับ Workload ระดับองค์กรขนาดใหญ่

ข้อเสียของ Virtuozzo Hybrid Server

  • การเรียนรู้ที่ซับซ้อน: องค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นใช้ Containterization อาจพบความท้าทายในการเรียนรู้การใช้งาน
  • ความเข้ากันได้กับระบบเก่า: แอปพลิเคชันเก่าบางตัวอาจไม่เข้ากันกับสภาพแวดล้อมคอนเทนเนอร์

เหตุผลที่ Sangfor เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแทน VMware

  • มีบริการเทียบเท่ากับ VMware: Sangfor HCI เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับ Cloud การประมวลผลแบบเสมือน การจัดเก็บข้อมูล เครือข่าย และความปลอดภัย โดยนำเสนอฟีเจอร์ที่เทียบเท่ากับ VMware และมากกว่า สามารถดูรายละเอียดการเปรียบเทียบสำหรับแต่ละองค์ประกอบของ Sangfor HCI ได้ที่นี่
  • การย้ายระบบที่ราบรื่น: เราใช้วิธีการที่พิสูจน์แล้ว (Proven Method) ในการย้าย Workload ที่หลากหลายจาก VMware มายัง Sangfor ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง
  • ชื่อเสียงที่ยอมรับ: เราเป็นผู้ให้บริการอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับระบบ Hyperconverged Infrastructure ตามการจัดอันดับส่วนแบ่งตลาดของ Gartner ® ในไตรมาส 2 และ 3 ปี 2023 อีกทั้งได้รับการยอมรับใน Gartner ® Magic Quadrant สำหรับซอฟต์แวร์ Hyperconverged Infrastructure และได้รับการจัดอันดับสูงบน Gartner ® Peer Insights สำหรับ HCI
  • ใบอนุญาตแบบถาวรและแบบรายปี: Sangfor HCI มีให้เลือกทั้งใบอนุญาตแบบถาวรและแบบรายปีเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • การสนับสนุนแบบเฉพาะ: Sangfor มอบการสนับสนุนตลอดวงจรการขาย ครอบคลุมทั้งกระบวนการขาย ก่อนขาย และหลังการขาย พร้อมทีมปฏิบัติการที่ยินดีให้บริการตลอด 24/7 สำหรับลูกค้าและพาร์ทเนอร์

การเลือกโซลูชันแทน VMware ที่เหมาะสมอาจดูเหมือนเป็นการตัดสินใจที่ท้าทาย แต่หากรู้ว่ากำลังมองหาอะไรในโซลูชัน Virtualization การเปลี่ยน VMWare เป็นระบบอื่นๆ ก็จะง่ายขึ้นมาก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันทางเลือกแทน VMware อย่าง Sangfor HCI หรือต้องการอ่านเกี่ยวกับแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ (Sangfor) กรุณาเยี่ยมชมหน้า Sangfor HCI หรือติดต่อ สำนักงาน Sangfor ในพื้นที่ของคุณ

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Articles

Cloud and Infrastructure

Top Cloud Managed Services Providers

Date : 10 Jan 2025
Read Now
Cloud and Infrastructure

เจาะลึกบริการคลาวด์ (Cloud Service) คืออะไร พร้อมรู้จัก Sangfor Cloud Platform

Date : 26 Dec 2024
Read Now
Cloud and Infrastructure

Best Zscaler Alternatives

Date : 16 Dec 2024
Read Now

See Other Product

Sangfor Application Delivery (AD) Product Series
VMware Replacement
Sangfor Kubernetes Engine (SKE)
Sangfor Database Management Platform (DMP)
HCI - Hyper Converged Infrastructure - Sangfor HCI - โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ
Cloud Platform - Thai