การปกป้องข้อมูลถือเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทำให้ผู้คนแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากแก่บริษัทต่าง ๆ เป็นประจำโดยไม่ลังเล แม้ว่าเครือข่ายเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเหล่านี้อาจทำให้ชีวิตและธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวที่สำคัญเช่นกัน

ในบทความนี้ เราจะมาดูการตอบสนองของประเทศไทยต่อปัญหาที่ท้าทายเหล่านี้และสำรวจว่ากฎหมาย PDPA ของประเทศไทยที่ใช้สำหรับปกป้องข้อมูลผู้ใช้ นอกจากนี้ เราจะเจาะลึกลงไปว่า PDPA Thailand ถูกนำไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างไร และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างไร

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลถือเป็นส่วนสำคัญของระบบดิจิทัล นโยบายเหล่านี้ช่วยให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่ถูกนำไปใช้ในการฉ้อโกงหรือก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ นอกจากนี้ กฎหมายเหล่านี้ยังสร้างความเชื่อมั่นระหว่างภาคธุรกิจและรัฐบาล ซึ่งตอกย้ำแนวคิดความเป็นส่วนตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน และกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy หรือ PDP) ถือเป็นกฎหมายเดียวที่ทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันหลักในการต่อต้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด ในประเทศไทยกฎหมาย PDPA ถูกนำมาใช้เพื่อให้บุคคลสามารถควบคุมวิธีการรวบรวม ประมวลผล และใช้ข้อมูลของตนได้มากขึ้น โดยช่วยให้แน่ใจว่าบริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามแนวทางที่เข้มงวดในการจัดการข้อมูลที่มีเอกสิทธิ์ ส่งเสริมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล นอกจากนี้ Sangfor ยังได้ให้สำรวจการเปรียบเทียบระหว่างกฎหมาย PDPA กับ GDPR ของยุโรปโดยอย่างละเอียดเพิ่มเติมไว้ที่นี่ อย่างไรก็ตาม สำหรับตอนนี้ เราลองมาทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นว่า PDPA Thailand คืออะไรกันก่อนดีกว่า

What is PDPA Thailand concept image

PDPA Thailand คืออะไร?

พ.ร.บ. PDPA หรือที่เรียกอีกอย่างว่า PDPA Thailand เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคขั้นพื้นฐานที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความสมบูรณ์ของข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในประเทศไทย กฎหมายฉบับนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (2019) (PDPA) โดยกฎหมายดังกล่าวได้ระบุถึงสิทธิของผู้ใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง และกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการรวบรวม การประมวลผล และการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังระบุถึงบทลงโทษสำหรับการละเมิดข้อกำหนดเหล่านี้ไว้ด้วย

PDPA Thailand เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลฉบับสมบูรณ์ฉบับแรกของประเทศ ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 แม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2563 แต่มีกำหนดเลื่อนวันบังคับใช้ออกไปเป็นเดือนมิถุนายน 2565 วัตถุประสงค์หลักของกฎหมาย PDPA มีไว้เพื่อควบคุมการรวบรวม ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยองค์กรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ โดยธุรกิจใด ๆ ในประเทศไทยที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. PDPA

แม้ว่า พ.ร.บ. PDPA จะเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญที่สุดและมีผลบังคับใช้ล่าสุดในประเทศไทย แต่ประเทศไทยยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่ใช้เพื่อคุ้มครองข้อมูลประเภทต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งได้แก่ พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน (Payment System Act) ซึ่งใช้สำหรับธนาคาร พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ (National Health Act) ซึ่งใช้สำหรับข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล และ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารราชการ (Official Information Act) เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บไว้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) บังคับใช้โดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Committee) ของประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งตอนนี้เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำความเข้าใจขอบเขตของกฎหมายนี้ให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPC) คืออะไร?

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPC เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ คณะกรรมการ PDPC ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่กฎหมาย PDPA จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายน สำนักงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การควบคุมการปฏิบัติตาม PDPA การกำหนดแนวทางในการปกป้องความสมบูรณ์ของข้อมูล และการบังคับใช้บทลงโทษ ประมวลกฎหมาย และข้อบังคับย่อย สำนักงาน PDPC ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน คณะกรรมการ 5 คน และคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ 9 คน โดยทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งตามความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตอนนี้เรารู้แล้วว่าใครเป็นผู้บังคับใช้ PDPA เรามาหลักสำคัญของกฎหมายกันดีกว่า

องค์ประกอบหลักของ PDPA ของประเทศไทย กำหนดนิยามของข้อมูลส่วนบุคคลว่า "ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลซึ่งสามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต" PDPA ระบุข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 2 ประเภท ได้แก่:

  • ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (GPD): ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปหมายถึงข้อมูลใด ๆ ของบุคคลที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลการติดต่อ รหัสลูกค้า อายุ เพศ ส่วนสูง ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และที่อยู่ IP
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (SPD): ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวหมายถึงข้อมูลที่ต้องได้รับความยินยอมอย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ มุมมองทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อทางปรัชญา รสนิยมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน หรือข้อมูลทางพันธุกรรม

เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสองประเภท กฎหมาย PDPA ได้กำหนดแนวทางสำหรับผู้ควบคุมข้อมูล ซึ่งหมายถึงบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอำนาจและหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในทำนองเดียวกัน กฎหมายนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้ประมวลผลข้อมูล หรือผู้ที่ “ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำแนะนำที่ผู้ควบคุมข้อมูลหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลกำหนดไว้เท่านั้น”

ตามกฎหมาย ทั้งผู้ประมวลผลข้อมูลและผู้ควบคุมข้อมูลเหล่านี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดความยินยอม สิทธิของเจ้าของข้อมูล การแจ้งการละเมิด และข้อจำกัดในการโอนข้อมูลข้ามพรมแดน องค์ประกอบสำคัญของกฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถรวบรวมหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมได้ นอกจากนี้ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องใช้เพื่อจุดประสงค์ที่รวบรวมมาในตอนแรกเท่านั้น การไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านี้อาจส่งผลให้ได้รับโทษปรับทางปกครองสูงสุด 5 ล้านบาท และค่าปรับทางอาญาสูงสุด 1 ล้านบาท ประเด็นสำคัญที่ควรทราบเกี่ยกับกฎหมาย PDPA ได้แก่:

  1. การถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดน: ภายใต้ PDPA ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถถ่ายโอนไปยังเขตอำนาจศาลหรือองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่มีการคุ้มครองข้อมูลที่เหมาะสม การถ่ายโอนข้อมูลเหล่านี้จะได้รับอนุญาตเฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้ตระหนักถึงการขาดการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและให้ความยินยอมอย่างชัดแจ้ง หรือหากการถ่ายโอนข้อมูลนั้นมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติตามสัญญา
  2. สัญญาที่มีผลผูกพันภายในเครือกิจการ: คณะกรรมการ PDPC สนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ ภายในกลุ่มบริษัทเดียวกันนำกฎเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลผูกพันภายในองค์กร (BCR) มาใช้เพื่อควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลภายในกลุ่ม กฎเหล่านี้ช่วยให้แน่ใจว่าบริษัทในเครือทั้งหมดปฏิบัติตามมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลระดับสูงอย่างเท่าเทียมกัน
  3. การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO): ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2023 เป็นต้นมา ทั้งผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) หากกิจกรรมหลักของพวกเขาเกี่ยวข้องกับ:
    • การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากที่ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ หรือคาดการณ์พฤติกรรม ซึ่งมักพบได้ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ประกอบการโทรคมนาคม โปรแกรมสมาชิก การให้คะแนนเครดิต หรือการป้องกันการฉ้อโกง
    • การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว ไม่ว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม
    • การไม่แต่งตั้ง DPO อาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท
  4. สัญญาความเป็นส่วนตัวของคู่ค้า: ภายใต้ PDPA สัญญาความเป็นส่วนตัวของคู่ค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลเมื่อคู่ค้าทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูล และสำหรับข้อตกลงการแบ่งปันหรือถ่ายโอนข้อมูลเมื่อคู่ค้าทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล
  5. พันธกรณีขององค์กรข้ามชาติ: ธุรกิจนอกประเทศไทยที่เสนอสินค้าหรือบริการให้กับบุคคลในประเทศ และติดตามพฤติกรรมออนไลน์ของผู้ใช้จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. PDPA ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะมีธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องปฏิบัติตาม PDPA Thailand และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกฎหมายที่ควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับความเหมาะสมของการปกป้องข้อมูล ข้อยกเว้น กฎเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลผูกพันภายในองค์กร (BCR) หรือข้อสัญญามาตรฐาน (SCC)
  6. การบังคับใช้แบบขยายหลักดินแดนของ PDPA: มีผลบังคับใช้กับองค์กรทั้งหมดที่รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้อยู่อาศัยในประเทศไทย ไม่ว่าองค์กรเหล่านี้จะจดทะเบียนอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย มีฐานอยู่ในประเทศไทย หรือมีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของ พ.ร.บ. PDPA
  7. การแจ้งการถอนความยินยอมหรือการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์: แม้ว่าผู้ควบคุมข้อมูลสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ตราบเท่าที่วัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เจ้าของข้อมูลต้องได้รับโอกาสในการถอนความยินยอมหรือเลือกไม่ยินยอมได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ หากผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลต้องการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากความยินยอมเดิมที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ พวกเขาจะต้องได้รับความยินยอมอย่างชัดเจนสำหรับแต่ละวัตถุประสงค์ที่แยกจากกัน
  8. การแจ้งวัตถุประสงค์การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล: ภายใต้ พ.ร.บ. PDPA ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตน การแจ้งนี้จะต้องรวมถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคค รายละเอียดของผู้ควบคุมข้อมูลและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) บุคคลที่สามที่อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้ทราบ และสิทธิของเจ้าของข้อมูล พร้อมด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการและเวลาที่เจ้าของข้อมูลสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้
  9. บันทึกรายการประมวลผลข้อมูลบุคคล: ภายใต้กฎหมาย PDPA ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลทั้งหมดต้องเก็บรักษาบันทึกที่ครอบคลุมเกี่ยวกับกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตนให้ครบถ้วน การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจสอบโดยหรือการส่งเอกสารไปยัง PDPC (คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
  10. กฎข้อยกเว้น: โดยทั่วไปแล้ว การรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวโดยไม่ได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลนั้นเป็นสิ่งต้องห้า ยกเว้น เมื่อจำเป็นต้องป้องกันหรือระงับภัยคุกคามต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล และบุคคลนั้นไม่สามารถให้ความยินยอมได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม

กฎหมาย PDPA และกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนใหญ่ทั่วโลกได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายอาจมีข้อจำกัดที่สำคัญเมื่อนำไปปฏิบัติ เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบและความสำคัญของ PDPA อย่างสมบูรณ์ เราต้องสำรวจอุปสรรคบางประการที่องค์กรต่าง ๆ อาจต้องเผชิญในการบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายให้ประสบความสำเร็จ

ความท้าทายในการปฏิบัติตาม PDPA Thailand

การนำกฎหมายใด ๆ ก็ตามมาปฏิบัติย่อมมีความท้าทาย กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจบังคับใช้ได้ยากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลหลายประการในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้แต่ประเทศที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดก็ยังเผชิญกับอุปสรรคในการกำหนดนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่มีประสิทธิผล ตามข้อมูลของ PricewaterhouseCoopers Consulting (Thailand) Ltd. ขอบเขตและข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA ทำให้กฎหมายมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ และสร้างความท้าทายให้กับองค์กรต่าง ๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ทำการสำรวจบริษัทต่าง ๆ ในเดือนสิงหาคม 2020 เพื่อประเมินว่าบริษัทต่าง ๆ เตรียมพร้อมสำหรับการบังคับใช้ PDPA ในเดือนมิถุนายน 2021 มากเพียงใด และเพื่อระบุอุปสรรคสำคัญที่พวกเขาเผชิญในการปฏิบัติตาม PDPA

แบบสำรวจ 25 ข้อนี้ได้ถูกแจกจ่ายให้กับองค์กรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย และเปิดให้ผู้ตอบแบบสำรวจเข้าถึงได้จนถึงเดือนกันยายน 2020 ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าแม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะทราบถึงข้อกำหนด PDPA แต่บริษัทหลายแห่งก็ยังไม่พร้อมสำหรับการบังคับใช้ ในขณะที่บริษัทบางแห่งยังไม่สามารถจัดเตรียม PDPA ในบางส่วนได้สำเร็จ เพื่อให้เข้าใจถึงความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตาม PDPA Thailand ได้ดียิ่งขึ้น เราได้สรุปอุปสรรคสำคัญบางส่วนที่ถูกกล่าวถึงในการสำรวจของ PwC ในปี 2021 และยังได้เน้นย้ำถึงข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารวิจัยของ Damrongsak Naparat ซึ่งสำรวจเกี่ยวกับความท้าทายหลักบางประการในการนำ PDPA ไปปฏิบัติ ได้แก่:

  • ขาดเงินทุน เทคโนโลยี และทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็นนการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPC
  • ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย
  • จำเป็นต้องมีความชัดเจนว่ากฎหมายความเป็นส่วนตัวของไทยฉบับใดที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือบังคับใช้ในสถานการณ์เฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกฎระเบียบเฉพาะภาคส่วนขัดแย้งกับ PDPA
  • ขาดการตระหนักรู้หรือการศึกษาเกี่ยวกับภาระผูกพันด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้บริโภคหรือบริษัทก็ตาม
  • ขาดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือทีมงานเฉพาะด้านที่ทุ่มเทให้กับงานด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  • บริษัทและผู้ใช้ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างจริงจัง

แม้ว่าความท้าทายที่เผชิญระหว่างการนำ PDPA ไปปฏิบัติจะเป็นเรื่องยาก และอาจยังคงเป็นปัญหาสำหรับบริษัทหลายแห่งในปัจจุบัน แต่ก็มีวิธีการที่ง่ายกว่าสำหรับธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามข้อกำหนดตลอดเวลา

ธุรกิจต่าง ๆ สามารถปฏิบัติตาม PDPA Thailand ได้อย่างไร

การปฏิบัติตามกฎหมายถือเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับธุรกิจใด ๆ การปฏิบัติตามกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายจากบทลงโทษ คดีความ และผลทางกฎหมายอื่น ๆ ที่ตามมา นอกจากนี้ การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อมูลสำ หรับธุรกิจยังนำมาซึ่งประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่:

  • การแสดงให้เห็นถึงชื่อเสียงที่เชื่อถือได้และความรับผิดชอบต่อลูกค้า รัฐบาล และนักลงทุน
  • การปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยขั้นตอนมาตรฐานที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  • การลดภัยคุกคามทางไซเบอร์และการสูญเสียข้อมูลโดยบังคับใช้โปรโตคอลความปลอดภัย
  • การมอบความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างบริษัทคู่แข่ง
  • การเป็นลูกค้ารายสำคัญสำหรับสัญญาภาครัฐ
  • การสร้างวัฒนธรรมแห่งพฤติกรรมที่มีจริยธรรมภายในบริษัทของคุณ

สำหรับกฎหมาย PDPA Thailand มีข้อกำหนดสำคัญบางประการที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตาม PDPA ข้อกำหนดเหล่านี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรต่าง ๆ สามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกกฎหมายในขณะที่ปกป้องสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล

ข้อกำหนดหลักสำหรับการปฏิบัติตาม PDPA สำหรับธุรกิจ:

  1. การได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อย่างชัดแจ้งและมีการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล โดยความยินยอมจะต้องได้รับไว้อย่างชัดเจนในรูปแบบคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางอิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นไปได้
  2. การแจ้งหรือการเปิดเผยเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเมื่อร้องขอความยินยอมจากผู้ใช้ ผู้ใช้จะต้องยินยอมให้ประมวลผลข้อมูลด้วยความสมัครใจ และมีสิทธิ์ถอนความยินยอมได้อย่างง่ายดายทุกเมื่อ
  3. การกำหนดและรักษานโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อกำหนดการประมวลผลข้อมูลภายใต้ PDPA
  4. ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลข้อมูลผลภายใต้ พ.ร.บ. PDPA ของประเทศไทยจะต้องทำข้อตกลงตามสัญญาที่กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดที่กฎหมายกำหนด
  5. การแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้เป็นเวลานานเท่าใด ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเมื่อถึงจุดที่รวบรวมข้อมูลหรือการแจ้งล่วงหน้า และควรรวบรวมข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น หากไม่สามารถระบุวันที่ได้ บริษัทจะต้องชี้แจงกระบวนการที่ใช้ในการกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล
  6. การนำมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เข้มงวดมาปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลและการโจมตีทางไซเบอร์
  7. การให้สิทธิ์เข้าถึงและควบคุมข้อมูลแก่เจ้าของข้อมูล ซึ่งรวมถึงการให้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิ์ในการถอนความยินยอมได้ตลอดเวลา สิทธิ์ในการแก้ไข ลบ จำกัด หรือคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายข้อมูล และสิทธิ์ในการยื่นคำร้องเรียนต่อสำนักงาน PDPC
  8. การแต่งตั้ง DPO หากกิจกรรมหลักของธุรกิจกำหนดไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตาม PDPA และทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อสำหรับเจ้าของข้อมูล ภายใต้กฎหมายเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่องค์กรเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม PDPA ของประเทศไทย ตรวจสอบว่าผู้ควบคุมข้อมูลและ/หรือผู้ประมวลผลข้อมูลปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนหรือไม่ ประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลที่บังคับใช้กฎหมายตามความจำเป็น และรักษาความลับเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดที่ได้รับในขณะทำงานเป็น DPO ผู้ประมวลผลข้อมูลและผู้ควบคุมข้อมูลต้องให้ข้อมูลติดต่อของ DPO แก่ผู้ใช้ด้วย
  9. การแต่งตั้ง DPO หากกิจกรรมหลักของธุรกิจกำหนดไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตาม PDPA และทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อสำหรับเจ้าของข้อมูล ภายใต้กฎหมายเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่องค์กรเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม PDPA ของประเทศไทย ตรวจสอบว่าผู้ควบคุมข้อมูลและ/หรือผู้ประมวลผลข้อมูลปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนหรือไม่ ประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลที่บังคับใช้กฎหมายตามความจำเป็น และรักษาความลับเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดที่ได้รับในขณะทำงานเป็น DPO ผู้ประมวลผลข้อมูลและผู้ควบคุมข้อมูลต้องให้ข้อมูลติดต่อของ DPO แก่ผู้ใช้ด้วย
  10. การลงนามในข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลหรือข้อตกลงการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูล
  11. การสร้างการประเมินผลกระทบต่อการปกป้องข้อมูล เพื่อระบุความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและมาตรการในการบรรเทาความเสี่ยงเหล่านั้น

หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว อาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและโทษเราตามที่รัฐกำหนด เราได้แจกแจงกระบวนการเหล่านี้ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น

ค่าปรับและบทลงโทษภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย

การละเมิดกฎหมาย PDPA ของประเทศไทยอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับสูงสุดถึง 5 ล้านบาท หรือประมาณ 145,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธุรกิจต่าง ๆ ยังอาจต้องถูกดำเนินคดีอาญาและอาจถูกสั่งให้หยุดกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลทั้งหมด หากเกิดการละเมิดข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลจะต้องแจ้งการละเมิดข้อมูลไปยัง PDPC ภายใน 72 ชั่วโมง

การแจ้งการละเมิดข้อมูลต้องระบุถึงลักษณะของเหตุการณ์ รายละเอียดการติดต่อของผู้ควบคุมข้อมูลหรือ DPO ผลที่อาจเกิดขึ้น และมาตรการบรรเทาผลกระทบที่ดำเนินการไปแล้วหรือจะดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากการละเมิดข้อมูลมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูล ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องแจ้งการละเมิดข้อมูลรวมถึงมาตราการดำเนินการแก้ไขให้ทั้ง PDPC และเจ้าของข้อมูลที่ได้รับผลกระทบทราบโดยเร็ว ในกรณีที่การละเมิดข้อมูลส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลหลายราย ผู้ควบคุมข้อมูลสามารถแจ้งให้พวกเขาทราบได้โดยการแจ้งเป้นรายบุคคลด้วยตนเองหรือผ่านช่องทางสาธารณะ สื่อ โซเชี ยลมีเดีย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่นใดที่เจ้าของข้อมูลหรือสาธารณชนทั่วไปเข้าถึงได้

เพื่อเน้นย้ำถึงความร้ายแรงของบทลงโทษเหล่านี้ เราสามารถดูค่าปรับทางปกครองครั้งแรกที่ออกภายใต้กฎหมาย PDPA ได้อย่างง่ายดาย ในเดือนสิงหาคม 2024 คณะผู้เชี่ยวชาญชุดที่สองซึ่งได้รับการแต่งตั้งภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยได้กำหนดค่าปรับทางปกครอง แก่บริษัทเอกชนรายใหญ่แห่งหนึ่งที่ประกอบธุรกิจการขายออนไลน์ บริษัทดังกล่าวปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากรั่วไหลไปยังกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามที่ PDPA กำหนด

คณะกรรมการได้กำหนดค่าปรับทางปกครองสูงสุด 7 ล้านบาท ฐานไม่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ และไม่รายงานการละเมิดข้อมูล นอกเหนือจากค่าปรับแล้ว บริษัทยังได้รับคำสั่งให้ปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลในอนาคต และต้องฝึกอบรมพนักงาน โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับการปรับปรุงเหล่านี้ให้ PDPC ภายใน 7 วัน หลังจากได้รับคำสั่ง

เพื่อให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มที่เหมาะสมเพื่อจัดการและรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่สามารถดำเนินการได้รวมถึง:

  • การอัป เดตนโยบายความเป็นส่วนตัวและนโยบายคุกกี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั้งหมดในการแจ้งข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูล
  • การนำแพลตฟอร์มการจัดการความยินยอมที่มีแบนเนอร์ความยินยอมที่กำหนดค่าไว้อย่างเหมาะสมมาใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงตัวเลือกเข้าร่วมหรือออกจากระบบได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่กฎหมายกำหนดไว้
  • การทำ ให้ผู้ใช้มั่นใจว่าสามารถใช้สิทธิ์ของตนนั้นได้ง่าย โดยเพิ่มแบบฟอร์มคำขอเข้าถึงข้อมูลของเจ้าของข้อมูล (DSAR) บนเว็บไซต์ของคุณ
  • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สำคัญจากคู่ค้าที่เชื่อถือได้

โชคดีที่ Sangfor Technologies นำเสนอแพลตฟอร์มและบริการที่ครอบคลุม ซึ่งออกแบบเพื่อรับประกันด้านความปลอดภัยของข้อมูลโดยเฉพาะ บริการเหล่านี้รวมถึง:

  1. การปกป้องความปลอดภัยของเครือข่าย - Next-Generation Firewall (Network Secure) ระบบการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายของ Sangfor เป็นแพลตฟอร์มไฟร์ วอลล์ ตัวแรกของโลกที่ผสานรวมเทคโนโลยี AI, Cloud Threat Intelligence, NG-WAF, IoT Security และ SoC Lite เข้าด้วยกัน โดยการผสานรวมนี้ช่วยกำจัดภัยคุกคามภายนอกได้อย่างราบรื่นกว่า 99% ทั่วทั้งเครือข่าย และรักษาการปฏิบัติตามข้อกำหนดของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ป้องกันแรนซัมแวร์ และการละเมิดข้อมูล - รับประกันความปลอดภัยของข้อมูลด้วยแพลตฟอร์มป้องกันแรนซัมแวร์ ของ Sangfor ซึ่งเป็นโซลูชันด้านความปลอดภัยเพียงโซลูชันเดียวที่ได้รับการจัดเตรียมอย่างพิเศษเพื่อรับมือกับวงจรชีวิตทั้งหมดของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ด้วยการใช้ AI และการทำงานร่วมกันระหว่าง การรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย (Network Secure) และ การรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Secure) เพื่อตรวจจับและบล็อกการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ได้ในเวลาเพียง 3 วินาที การรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Secure) ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยการรวมแอนตี้ไวรัส การตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่มุ่งโจมตีอุปกรณ์ปลายทาง (EDR) และความสามารถในการจัดการอุปกรณ์ปลายทางเข้าเป็นโซลูชันเดียวเพื่อการป้องกันแบบบูรณาการในจุดที่เสี่ยง
  3. การรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่สำคัญผ่านโครงสร้างพื้นฐา นคลาวด์ - บริษัทต่าง ๆ สามารถปกป้องข้อมูลของตนได้โดยการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) และ บริการจัดการระบบคลาวด์ (MCS) ของ Sangfor มอบแพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับการประมวลผลบนคลาวด์ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมการปกป้องนี้ Secure Access Service Edge (SASE) ช่วยรับรองการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ ด้วยการผสานรวมคุณลักษณะด้านความปลอดภัยขั้นสูง เช่น Zero Trust Network Access (ZTNA) และ Cloud Access Security Broker (CASB) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบการรับรองสิทธิ์ของผู้ใช้ การตรวจสอบการรับส่งข้อมูลที่เข้ารหัส และการบังคับใช้ตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการกำกับดูแลได้อย่างราบรื่น
  4. การจัดหาโซลูชันการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ - ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการปฏิบัติตามข้อกำหนดคือความสามารถในการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ Sangfor นำเสนอแผนการจัดการการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งระบุขั้นตอนและโปรโตคอลระหว่างเหตุการณ์ที่ชัดเจน เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจจะมีความต่อเนื่องและลดการสูญเสียข้อมูล

เหล่านี้ถือเป็นมาตรการที่ยอดเยี่ยมที่ธุรกิจต่าง ๆ ควรนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามข้อบังคับด้านการคุ้มครองข้อมูล อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปจำเป็นต้องทำความเข้าใจความหมายและผลกระทบของ PDPA ไว้ด้วยเช่นกัน

PDPA ของไทยส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างไร?

แม้ว่า PDPA Thailand จะมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจที่ควบคุม รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหลัก แต่กฎหมายดังกล่าวยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคด้วยการให้สิทธิบางประการแก่ผู้บริโภคในการรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายนี้ครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดาในประเทศไทย ซึ่งคุ้มครองการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลที่อยู่ในประเทศไทย โดยไม่คำนึงว่าข้อมูลที่รวบรวมมาจากที่ใด สิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. PDPA ได้แก่:

  1. สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล - ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ของตน เมื่อข้อมูลนั้นถูกรวบรวมและประมวลผลโดยผู้ควบคุมข้อมูล
  2. สิทธิ์ในการร้องขอแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง - ผู้บริโภคสามารถร้องขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องได้
  3. สิทธิ์ในการร้องขอให้ลบข้อมูล - ผู้ใช้สามารถร้องขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ
  4. สิท ธิ์ในการเคลื่อนย้ายข้อมูล - ผู้บริโภคมีสิทธิ์ได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง
  5. สิทธิ์ในการถอนความยินยอมได้ตลอดเวลา - ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะไม่แบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้ตลอดเวลา รวมถึงการตลาดโดยตรงด้วย
  6. สิทธิ์ในการได้รับข้อมูล - ผู้ใช้มีสิทธิ์ที่จะได้รับแจ้งว่ามีการรวบรวมข้อมูลใดเกี่ยวกับตนเอง เหตุใดจึงรวบรวมข้อมูลดังกล่าว และจะเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเป็นเวลานานเพียงใด

ใครบ้างที่ได้รับการยกเว้นจาก PDPA ของประเทศไทย?

หน่วยงานต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นจากการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ของประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ. PDPA:

  • บุคคลที่นำข้อมูลไปใช้เพื่อกิจกรรมส่วนตัวหรือในครัวเรือน
  • หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของรัฐ รวมถึงความปลอดภัยทางการเงินหรือความปลอดภัยสาธารณะ
  • บุคคลหรือนิติบุคคลที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเพื่อกิจกรรมสื่อมวลชน ศิลปกรรม และวรรณกรรม ตามจรรยาบรรณวิชาชีพหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
  • ศาลที่มีการพิจารณาคดีและการพิพากษาคดี
  • การดำเนินการของบริษัทเครดิตบูโร

บทสรุป

กฎหมาย PDPA Thailand ถือเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องประชาชนจากการใช้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนในทางที่ผิด ทั้งธุรกิจและบุคคลต่างก็ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสังคมที่มีจริยธรรมและลดความเสี่ยงในการละเมิดความปลอดภัย การสำรวจที่ดำเนินการโดย Deloitte Thailand เผยให้เห็นว่า 72% ขององค์กรมีความมั่นใจในความสามารถของตนในการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA เนื่องจากปฏิบัติตามกฎระเบียบและประเมินความพร้อมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ความมุ่งมั่นในการปกป้องข้อมูลนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัย มีวินัย และมีประสิทธิภาพ ปราศจากภัยความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์

สำหรับองค์กรที่ต้องการปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎหมาย เราขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อพิจารณาว่าองค์กรของคุณสามารถปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลได้อย่างไร Sangfor Technologies นำเสนอโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากมายที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยเช่นกัน ติดต่อเราได้แล้ววันนี้เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือเยี่ยมชม www.sangfor.com เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลสำหรับข้อมูล PDPA Thailand

เหล่านี้คือแหล่งข้อมูลสำคัญบางส่วนที่ผู้บริโภคและธุรกิจสามารถใช้เพื่อเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA Thailand และข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎหมาย

คำถามที่พบบ่อย

ประกาศข้อยกเว้น RoPA จัดประเภทผู้ควบคุมข้อมูลที่ถือว่าเป็น “ธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง” ให้ได้รับการยกเว้นจากภาระผูกพันในการจัดทำและรักษาบันทึกกิจกรรมการประมวลผล (RoPA) ภายใต้มาตรา 39 ของกฎหมาย พ.ร.บ. PDPA (โดยมีข้อยกเว้นบางประการ)

ธุรกิจใด ๆ ในประเทศไทยที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลใด ๆ ที่รวบรวมและใช้ในบริบทเพื่อกิจกรรมส่วนบุคคลหรือในครัวเรือนจะได้รับการยกเว้น

พ.ร.บ. PDPA กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (GPD) และข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (SPD)

ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งรวมถึงชื่อ ที่อยู่ รายละเอียดการติดต่อ รหัสลูกค้า อายุ เพศ ส่วนสูง ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และที่อยู่ IP

ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวต้องได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูล และรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เปิดเผยเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา หรือการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และการประมวลผลข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ เพื่อจุดประสงค์ในการระบุตัวตนของบุคคลโดยเฉพาะ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ หรือข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตทางเพศหรือรสนิยมทางเพศของบุคคล

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Articles

Cyber Security

Ransomware Attacks 2024: A Look Back at the Top Ransomware Headlines

Date : 19 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

PowerSchool Breach: Student Information System Hack Exposes Data and Affects Dozens of Schools

Date : 15 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

MDR ต่างกับ SOC อย่างไร? และองค์กรคุณควรใช้ MDR หรือ SOC

Date : 23 Dec 2024
Read Now

See Other Product

Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE
Sangfor SSL VPN
Best Darktrace Cyber Security Competitors and Alternatives in 2024
Sangfor Omni-Command
Sangfor Endpoint Secure แอนตี้ไวรัสยุคใหม่ (NGAV) สำหรับองค์กรของคุณ