ในโลกดิจิตอลทุกวันนี้ ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และการสูญเสียข้อมูลให้แก่ Hacker อาจเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ดังนั้น มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่ล้ำหน้ามากขึ้นจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจและบุคคลทั่วไปในทุกวันนี้
ที่สำคัญไปกว่านั้น การเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ บางครั้งองค์กรจะต้องใช้มาตรการเชิงรุกในการกำจัดช่องโหว่ทางไซเบอร์ของเครือข่ายขององค์กร เพื่อตรวจจับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับการค้นหามัลแวร์และความผิดปกติในระบบ และหนึ่งในวิธีที่ทำให้องค์กรมั่นใจได้ถึง ความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็คือการใช้ การทำ Ethical Hacking
Hacker และ Hacking อย่างถูกจริยธรรม (Ethical Hacking) คืออะไร
Hacker คืออะไร? หากกล่าวถึงแฮกเกอร์ (Hacker) หลายคนอาจนึกถึงผู้คนไม่หวังดีที่ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงระบบและเครือข่ายของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และมักจะมีจุดประสงค์ เช่น การขโมยข้อมูล ขัดขวางการทำงานของระบบ หรืออื่นๆ โดยการแฮ็ก (Hacking) ตามพจนานุกรม Merriam-Webster หมายถึง การเข้าถึงเครือข่ายหรือระบบคอมพิวเตอร์อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นคำจำกัดความที่ตรงกับความคิดของคนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม คำศัพท์นี้ไม่จำเป็นต้องสื่อถึงองค์ประกอบทางอาชญากรรมเสมอไป
Ethical Hacking หรือการแฮ็กอย่างถูกจริยธรรม หมายถึง การเจาะเข้าระบบเครือข่ายด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง และได้รับอนุญาต ตรงตามโปรโตคอลด้านความปลอดภัยของเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในระบบหรือเครือข่าย โดย Hacker เหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีความชำนาญในการช่วยเหลือองค์กรให้ค้นพบจุดอ่อนในระบบป้องกัน เช่น ไฟร์วอล์ (Firewall) จากนั้นจึงให้คำแนะนำกับองค์กรและปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยต่อไป
พูดง่ายๆ ก็เหมือนสุภาษิตที่ว่า “ผีเห็นผี” ซึ่ง Hacker จะได้รับการว่าจ้างจากองค์กร เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับวิธีตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และวิธีป้องกันภัยคุกคามมาประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร เพื่อป้องกันจาก Hacker ผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง ทั้งนี้ Hacker สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. Black Hat Hackers
แฮกเกอร์ที่มีเจตนาร้ายตามภาพจำที่หลายคนรู้จัก แฮกเกอร์กลุ่มนี้จะใช้ทักษะของตนเพื่อจุดประสงค์ทางอาชญากรรมซึ่ง Black Hat Hacking เป็นการบุกรุกเครือข่ายอย่างผิดกฎหมาย เพื่อขโมยข้อมูล และใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร วัตถุประสงค์โดยส่วนใหญ่ของการแฮ็กรูปแบบนี้คือผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomeware)
2. White Hat Hackers
กลุ่ม White Hat Hackers เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการว่าจ้างอย่างถูกกฎหมายจากบริษัทและองค์กรให้แทรกซึมเข้าสู่ระบบและจัดทำการประเมินมาตรการความปลอดภัย พวกเขาช่วยเหลือบริษัทและรัฐบาลโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการแฮ็กและระบุข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย ช่วยค้นหาช่องโหว่ทางไซเบอร์ พร้อมปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยรวม โดยแฮกเกอร์หมวกขาวส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือและเทคนิคเดียวกับแฮกเกอร์หมวกดำ ตั้งแต่ชุด Rootkit สาธารณะไปจนถึงแคมเปญที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การใช้วิศวกรรมสังคม (Social Engineering) การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของอุปกรณ์ปลายทาง การนำเสนอเหยื่อล่อการโจมตี (Attack Decoys) การปลอมแปลงโปรโตคอล (Spoofing Protocols) การฟิชชิง (Phishing) และอื่นๆ อีกมากมาย
3. Grey Hat Hackers
การแฮ็กแบบหมวกเทาเป็นการผสมผสานระหว่างการแฮ็กแบบหมวกขาวและหมวกดำ โดยแฮกเกอร์หมวกเทาจะเข้าถึงเครือข่ายของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่อาจมีเจตนาที่กำกวม เช่น แฮกเกอร์เหล่านี้อาจติดต่อบริษัทพร้อมบอกข้อมูลเกี่ยวกับช่องโหว่ทางไซเบอร์ หรือเพียงแค่เปิดเผยข้อมูลทางออนไลน์โดยไม่ได้รับผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งการแฮ็กรูปแบบนี้มักทำเพื่อความสนุกในการทดสอบทักษะของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ทั้งการแฮ็กแบบหมวกเทาและหมวกดำถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากทั้งสองประเภทถือเป็นการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าเจตนาของแฮกเกอร์ทั้งสองประเภทจะแตกต่างกันก็ตาม
เมื่อทราบแล้วว่ามีการแฮ็กในรูปแบบที่แตกต่างกัน มาดูกันว่าวิธีการทำ Ethical Hacking นั้นต้องทำอย่างไร เพื่อปรับปรุงมาตรการ Cybersecuity ขององค์กร
การทำ Ethical Hacking ช่วยตรวจจับภัยคุกคามและระบุช่องโหว่ทางไซเบอร์ได้อย่างไร?
Ethical Hacking เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการประเมินความพร้อมขององค์กรต่อความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจากสามารถช่วยให้องค์กรค้นพบช่องโหว่ทางไซเบอร์ที่ Hacker คนอื่นๆ อาจจะใช้เป็นช่องทางในการโจมตี เครือข่าย และระบบขององค์กรของคุณ
“Hacker สายขาว” หรือ Hacker ที่มีจริยธรรมจะใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความปลอดภัยทางไซเบอร์ดังต่อไปนี้
1. การทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Testing)
Penetration Testing เป็นการจำลองการโจมตีทางไซเบอร์ของ Hacker หมวกดำ เพื่อหาช่องโหว่ความปลอดภัยในระบบและเครือข่ายขององค์กร โดยใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติหรือเครื่องมือตรวจสอบหาช่องโหว่ที่เป็นที่รู้จักในระบบปฏิบัติการต่างๆ การทดสอบการเจาะระบบมักให้เป็นงานของผู้รับจ้างภายนอกกระทำการแทนทีมงานรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ภายในองค์กร เพื่อเป็นการจำลองการโจมตีของแฮกเกอร์ภายนอกที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างเครือข่ายภายในของบริษัทได้อย่างสมจริงที่สุด
2. การตรวจสอบและประเมินช่องโหว่ของระบบ (Vulnerability Assessment)
หลังจากทดลองเจาะเข้าระบบแล้ว แฮกเกอร์จะทำการระบุ จัดประเภท และจัดลำดับความสำคัญของช่องโหว่ทางไซเบอร์ในเครือข่ายขององค์กร พร้อมนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาเพื่ออุดช่องโหว่ของระบบให้กับองค์กรด้วย โดยมักจะใช้กระบวนการที่ผสมผสาน การใช้ระบบอัตโนมัติและการทำแบบด้วยตัวเอง (Manual) เพื่อเป็นการตรวจสอบประเมินช่องโหว่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งองค์กรสามารถใช้เทคนิค Penetration Testing และ Vulnerabilty Assessement ร่วมกัน ในการสแกนหาจุดอ่อนและพัฒนากลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องระบบเครือข่ายขององค์กรอย่างครอบคลุมที่สุด
ยกตัวอย่างจุดอ่อนที่มีช่องโหว่ของระบบที่ทุกองค์กรควรเฝ้าระวังได้แก่:
- การโจมตีแทรกคำสั่งหรือข้อมูลเข้าไปในช่องทางรับข้อมูลของระบบ (Injection Attacks)
- การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าความปลอดภัย
- การขโมยข้อมูลที่มีความอ่อนไหว
- การเข้าถึงโปรโตคอลการยืนยันตัวตน
- องค์ประกอบในเครือข่ายที่สามารถใช้เพื่อเป็นจุดเข้าถึงระบบได้
ตัวอย่างการใช้ Ethical Hacking เพื่อเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น:
- การทดสอบความปลอดภัยของรหัสผ่าน เพื่อให้มั่นใจว่ารหัสผ่านที่ตั้งไว้มีความซับซ้อนและปลอดภัยมากพอ
- การตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยและสิทธิ์การเข้าถึงเครือข่าย ทั้งในบัญชีโดเมนและการจัดการฐานข้อมูล
- การทดสอบการเจาะระบบหลังการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ออกมาใหม่หรือการเพิ่มแพทช์ความปลอดภัยใหม่
- การตรวจสอบช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อป้องกันการถูกดักฟังและดักข้อมูล
- การทดสอบความถูกต้องของโปรโตคอลการยืนยันตัวตน
- การทดสอบฟีเจอร์ความปลอดภัยในแอปพลิเคชันเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของฐานข้อมูลองค์กรและผู้ใช้งาน
- Denial-of-Service Attack
หลังจากช่วงระยะเวลาการทดสอบ Ethical Hackers จะจัดเตรียมรายงานโดยละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนทั้งหมดที่ใช้ในการบุกรุกเครือข่าย ช่องโหว่ที่ค้นพบ และขั้นตอนทั้งหมดที่สามารถดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาเหล่านั้น ซึ่ง Ethical Hacking สามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและนักลงทุนว่า ข้อมูลของบริษัทมีความปลอดภัยหลังจากการทดสอบอย่างละเอียด
ในขณะที่การแฮ็กอย่างมีจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่มีการดำเนินงานที่แตกต่างกันมากและรวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
บทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecuity และ Ethical Hacker ในการรักษาความปลอดภัยขององค์กร
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การแฮกอย่างมีจริยธรรมเป็นการดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์ที่วางแผนไว้โดยมืออาชีพ เพื่อระบุและใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในเครือข่าย ในขณะที่ Cybersecuity หรือการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ นั้นต้องอาศัยใช้ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันเครือข่ายจากการโจมตี
ถึงแม้ว่าบทบาททั้งสองจะดูขัดแย้งกัน แต่ทั้งสองก็มีเป้าหมายสุดท้ายเดียวกัน คือการปรับปรุงความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity มีบทบาทเฉพาะ ดังนี้
- ดำเนินการตรวจสอบเป็นประจำเพื่อค้นหาข้อบกพร่องในระบบ
- นำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมาใช้เพื่อปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัย
- ดูแลรักษาและอัปเดตระบบรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
- กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงให้กับตัวแทนที่ได้รับความไว้วางใจและได้รับอนุญาต
- อธิบายผลกระทบและรายละเอียดของการโจมตีด้วยมัลแวร์ให้บริษัททราบ
- ให้คำแนะนำในการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัท
ในทางกลับกัน Ethical Hacker มีบทบาทที่แตกต่างกัน ได้แก่
- ประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยทดสอบการรั่วไหลด้านความปลอดภัยต่างๆ
- ทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อหาข้อบกพร่องที่อาจถูกใช้ประโยชน์
- ดำเนินการทดสอบการเจาะระบบ (Pen Tests) เป็นประจำบนระบบ เว็บแอปพลิเคชัน และเครือข่ายเพื่อตรวจหาช่องโหว่
- จัดทำรายงานหลังจากพบจุดอ่อนและให้ข้อเสนอแนะหลังปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไข
- แจ้งให้องค์กรทราบถึงวิธีที่การโจมตีสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและผู้ใช้
- ใช้เทคนิคการแฮ็กที่จะเปิดเผยจุดอ่อนอย่างชัดเจน
จะเห็นได้ว่าบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity และ White Hat Hacker แตกต่างกันในวิธีการ แต่ในท้ายที่สุดแล้วมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการปรับปรุงและปกป้องระบบเครือข่าย
แพลตฟอร์มตรวจจับภัยคุกคามแบบ Open-Source สำหรับ Ethical Hackers
แม้ว่าการแฮกอย่างมีจริยธรรมอาจเป็นวิธีที่ดีในการตรวจสอบระดับการป้องกันของเครือข่าย แต่แพลตฟอร์มที่ใช้ประเมินสถานะนั้นก็ควรต้องมีความทันสมัยและเข้าถึงได้
โดยแพลตฟอร์มตรวจจับภัยคุกคามแบบ Open-Source จะใช้ข้อมูลข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence Data) ที่ได้จากแหล่งข้อมูลเปิดสาธารณะ เช่น Forum เกี่ยวกับความปลอดภัย และรายการประกาศความปลอดภัย และสามารถใช้โดย White Hat Hacker เพื่อทำการประเมินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนะนำแพลตฟอร์ม Open-Source สำหรับการตรวจจับภัยคุกคาม
แพลตฟอร์มข่าวกรองภัยคุกคามที่พัฒนาโปรแกรม Utility และเอกสารต่างๆ สำหรับการแบ่งปันข่าวภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการแบ่งปันตัวบ่งชี้การบุกรุก (Indicators of Compromise) สามารถใช้สำหรับการแบ่งปัน จัดเก็บ และเชื่อมโยงตัวบ่งชี้การบุกรุกสำหรับการโจมตีแบบเฉพาะเจาะจง และให้ข้อมูลข่าวกรองภัยคุกคาม เช่น ข้อมูลผู้โจมตี ข้อมูลการฉ้อโกงทางการเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งผู้ใช้ MISP ได้รับประโยชน์จากความรู้ที่แบ่งปันกันเกี่ยวกับมัลแวร์หรือภัยคุกคามที่มีอยู่ แพลตฟอร์มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยปรับปรุงมาตรการตอบโต้ที่ใช้ต่อต้านการโจมตีแบบเฉพาะเจาะจง พร้อมตั้งค่าการป้องกันและการตรวจจับ
OpenCTI เป็นแพลตฟอร์มที่มีไว้สำหรับประมวลผลและแบ่งปันข่าวกรองทางไซเบอร์ พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติของฝรั่งเศส (ANSSI) และถูกออกแบบมาในตอนแรกเพื่อพัฒนาและอำนวยความสะดวกในการติดต่อของหน่วยงานกับพันธมิตร แต่ในปัจจุบัน แพลตฟอร์มนี้ได้ถูกปรับเป็น Open-Source อย่างเต็มรูปแบบ และเปิดให้ชุมชนข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ใช้งาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถจัดโครงสร้าง จัดเก็บ จัดระเบียบ แสดงผล และแบ่งปันความรู้ของตนได้อย่างง่ายดาย
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานอัตโนมัติสำหรับข่าวกรองภัยคุกคามและงานข่าวกรอง ซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วย Python 3 และจัดทำในรูปแบบปลั๊กอิน เพื่อให้แน่ใจว่ามีหนึ่งปลั๊กอินต่อแพลตฟอร์มหรืองาน
เป็นแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อจัดระเบียบสิ่งที่สังเกตได้ (Observables) ตัวบ่งชี้การบุกรุก กลยุทธ์ เทคนิค และขั้นตอน (TTPs) ไปจนถึงความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในที่เก็บข้อมูลเดียวที่เป็นหนึ่งเดียว (Unified Respository) แพลตฟอร์มนี้จะเพิ่มข้อมูลให้กับสิ่งที่สังเกตได้โดยอัตโนมัติ เช่น การแก้ไขโดเมนและระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของ IP และให้อินเทอร์เฟซสำหรับมนุษย์และเครื่องจักร
เครื่องมือและแพลตฟอร์มการตรวจจับภัยคุกคามของ Sangfor สำหรับธุรกิจ
Sangfor นำเสนอบริการ Threat Intelligence และ Cybersecurity ที่ทันสมัย สามารถทำงานร่วมกันและประสานงานเข้ากับโปรโตคอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถรักษามาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด
ตัวอย่างโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครบวงจรของ Sangfor ได้แก่
Sangfor's Threat Identification, Analysis, and Risk Assessment (TIARA)
Threat Identification, Analysis, and Risk Assessment (TIARA) คือ บริการประเมินความปลอดภัยโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถตรวจจับและตอบสนองได้จากแพลตฟอร์มข่าวกรองภัยคุกคามของ Sangfor เพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจสถานะภัยคุกคามต่อเครือข่ายภายในเวลาเพียง 2-4 สัปดาห์
บริการแบบครบวงจรนี้ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองแบบอัตโนมัติของแพลตฟอร์มข่าวกรองภัยคุกคามของ Sangfor เพื่อช่วยให้ลูกค้าที่ขาดมีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยได้เข้าใจภูมิทัศน์ภัยคุกคาม (Security Landscape) ปรับปรุงเวลาในการตรวจจับ และปรับปรุงสถานะความปลอดภัยอย่างรวดเร็ว
ยิ่งไปกว่านั้น TIARA ยังให้คำแนะนำการวางแผนการปรับปรุง และให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหา เพื่อแก้ไขช่องโหว่และป้องกันการโจมตีจาก Black Hat Hacker ได้อีกด้วย
บริการ TIARA ของ Sangfor เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของคุณดังนี้
- ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานะความปลอดภัยปัจจุบันของบริษัท มอบแนวทางที่ชัดเจนและครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงสถานะความปลอดภัยโดยรวมขององค์กรของคุณ
- ลดความเสี่ยงต่อการถูกแฮกและมัลแวร์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมทั้งลดผลกระทบของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยต่อธุรกิจของคุณในกรณีที่เกิดการรั่วไหล
- เพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของทรัพยากรภายในที่มีอยู่ขององค์กร
- ยกระดับความตระหนักด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงในหมู่พนักงานภายในองค์กร ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการรั่วไหลด้านความปลอดภัยโดยไม่ตั้งใจ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โบรชัวร์บริการ TIARA และ MDR
แพลตฟอร์ม Cyber Command (NDR)
เครื่องมือ Cyber Command (NDR) Platform ช่วยตรวจระวังภัยมัลแวร์ และเหตุการณ์ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเครือข่ายของคุณ โซลูชันนี้ทำงานร่วมกับอัลกอริทึมของ AI ที่พัฒนาขึ้น เพื่อปกป้องข้อมูลและตรวจสอบระบบของคุณอย่างต่อเนื่อง
Sangfor’s Endpoint Secure
โซลูชั่นการป้องกันอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Secure) ของ Sangfor มีประสิทธิภาพที่ล้ำหน้ามากกว่าซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสและแอนตี้มัลแวร์แบบเก่า โดยใช้เทคโนโลยี Engine Zero ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของ Sangfor และแพลตฟอร์มข่าวกรองภัยคุกคาม Neural-X เพื่อสร้างการป้องกันมัลแวร์ที่เหนือกว่าให้กับอุปกรณ์ปลายทางขององค์กรคุณ
Endpoint Secure ให้การป้องกันแบบผสมผสาน มอบความปลอดภัยต่อการติดมัลแวร์และการรั่วไหลจากการโจมตีขั้นสูงแบบต่อเนื่อง (Advanced Persistent Threat หรือ APT) ทั่วทั้งเครือข่ายขององค์กรของคุณ โดยทั้งหมดนี้มาพร้อมกับความง่ายในการจัดการ การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา นอกจากนี้ แพลตฟอร์มนี้ยังได้รับรางวัล "Top Product" จาก AV-TEST จากความสำเร็จในการป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) 100% ต่อมัลแวร์แบบ Zero-Day
Sangfor’s Next Generation Firewall (NGFW)
เครื่องมือ Next Generation Firewall (NGFW) ของ Sangfor นี้เมื่อทำงานร่วมกับ Endpoint Security จะสามารถระบุไฟล์ที่เป็นอันตรายได้ในระดับเครือข่ายและที่อุปกรณ์ปลายทาง (Endpoints) อีกทั้งไฟร์วอลล์นี้ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบการรับส่งข้อมูลของเครือข่ายและแอปพลิเคชัน และตรวจหาภัยคุกคาม พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเครือข่ายขององค์กร และนำข่าวกรองด้านความปลอดภัยจากภายนอกเครือข่ายเข้ามา
คำถามที่พบบ่อย
ความแตกต่างระหว่าง Cybersecurity และ Ethical Hacking มีอะไรบ้าง?
การแฮ็กอย่างมีจริยธรรม (Ethical Hacking) ดำเนินการโดยแฮกเกอร์ที่ได้รับอนุญาตให้เจาะระบบเครือข่ายขององค์กร เพื่อนำเสนอวิธีแก้ไขจุดอ่อนที่ตรวจพบ ในขณะที่ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่หลักในการปกป้องระบบจากการกระทำที่เป็นอันตราย และทำให้มั่นใจว่าการโจมตีจะไม่ประสบความสำเร็จ
Ethical Hacking ในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออะไร?
Ethical Hacking คือ การพยายามเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน หรือเครือข่ายโดยได้รับอนุญาต เพื่อจำลองสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์จริง และทดสอบระบบป้องกันขององค์กรเชิงรุก
องค์กรจำเป็นต้องทำ Ethical Hacking สำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หรือไม่?
แน่นอนว่ามีความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจในระดับมาตรการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สูงขึ้นสำหรับองค์กรของคุณ การแฮ็กอย่างมีจริยธรรมจะช่วยเสริมโครงสร้างความปลอดภัยที่มีอยู่ และรับประกันว่าองค์กรของคุณได้รับการปกป้องในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์