ในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Network Security ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญสำหรับองค์กรทุกขนาด ทั้งนี้ ระบบเครือข่ายที่ไม่มีการป้องกันที่แข็งแกร่งเพียงพอ อาจนำไปสู่ความเสียหายทั้งด้านทรัพย์สินและชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่ซับซ้อน อย่างมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) หรือการโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing)
Network Security คืออะไร
Network Security คือ ระบบ มาตรการ และเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อปกป้องโครงสร้างเครือข่าย และข้อมูลสำคัญขององค์กรจากการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรมข้อมูล เรียกค่าไถ่ หรือแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ พูดได้ว่า Network Security เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันองค์กรและบุคคลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ยิ่งนับวัน ยิ่งมีจำนวนและความรุนแรงมากขึ้น

Network Security สำคัญต่อองค์กรอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว Network Security คือมาตรการที่ทุกองค์กรควรมีไว้เพื่อทำให้พนักงานสามารถรับ-ส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่หากระบบเครือข่ายถูกแฮ็กเกอร์โจมตี ประกอบกับมีช่องโหว่หรือจุดอ่อนในระบบรักษาความปลอดภัยก็อาจจะทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกสู่คนภายนอกได้ทันที
ดังนั้นองค์กรทุกขนาดจึงต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับ Network Security เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรให้ปลอดภัย ไม่รั่วไหล หรือถูกขโมย ด้วยการติดตั้งระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไฟร์วอล (Firewall) แอนตี้ไวรัส และอื่นๆ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการทำงานของ Network Security
Network Security ของแต่ละองค์กร รวมถึงระบบความปลอดภัยจากผู้ให้บริการล้วนมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งธุรกิจต่างๆ อาจมีการออกแบบ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และนโยบายการรักษาความปลอดภัยแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. Physical Network Security
Physical Network Security การควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายทางกายภาพ และเป็นด่านแรกในการป้องกันระบบเครือข่าย เช่น การสแกนลายนิ้วมือ (Biometric Authentication) บัตรผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (Access Cards) หรือรหัส PIN
เพื่อเข้าถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูล หรือคอมพิวเตอร์ขององค์กร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการจัดการสายเคเบิลและอุปกรณ์เครือข่ายอย่างเป็นระบบ การควบคุมการเข้าถึงห้องเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูล
2. Technical Network Security
คือ การทำงานด้านเทคนิคในการรักษาความปลอดภัย ที่ทำหน้าที่ในการปกป้องข้อมูลภายในเครือข่ายขององค์กร โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ การป้องกันข้อมูลจากบุคคลภายนอกหรือแฮ็กเกอร์ (Hacker) และป้องกันกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากพนักงานภายในองค์กร
โดย Technical Network Security อาจประกอบไปด้วยระบบป้องกันที่หลากหลาย เช่น Firewall (ไฟร์วอลล์) อย่าง Sangfor NGFW ระบบตรวจจับและป้องกันการบุกรุกอย่าง EDR หรือ MDR รวมไปถึงมาตรการป้องกันและกู้คืนข้อมูลจากการถูกโจมตี (Data Loss Prevention)
3. Administrative Network Security
Administrative Network Security นั้นเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตรวจสอบสิทธิ์ ระดับการเข้าถึง วิธีการดำเนินงานต่างๆ รวมไปถึงการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์
ระบบ Network Security มีรูปแบบใดบ้าง
การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องมีระบบป้องกันที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าระบบ Network Security ที่องค์กรควรพิจารณาติดตั้งนั้นมีอะไรบ้าง
- ไฟร์วอลล์ (Firewall)
Firewall เป็นระบบรักษาความปลอดภัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกองค์กร โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นด่านตรวจสอบ Traffic ของข้อมูลที่เข้าออกเครือข่าย ซึ่งระบบจะทำการตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของข้อมูล พร้อมทั้งกรองและบล็อก Traffic ที่น่าสงสัยหรือเป็นอันตราย
ในปัจจุบัน Next Generation Firewall (NGFW) ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถที่ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากการตรวจสอบแพ็กเก็ตพื้นฐานแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์การใช้งานแอปพลิเคชันและป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงได้อีกด้วย องค์กรสามารถเลือกใช้ไฟร์วอลล์ได้ทั้งในรูปแบบฮาร์ดแวร์ที่เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ หรือซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับองค์กรขนาดเล็กที่ต้องการความยืดหยุ่นในการติดตั้งและปรับแต่ง
- ระบบป้องกันไวรัสและมัลแวร์ (Antivirus และ Anti-Malware)
ระบบ Antivirus และ Anti-Malware เป็นองค์ประกอบสำคัญในการรักษาความปลอดภัยในระดับอุปกรณ์ปลายทาง ระบบนี้ทำงานโดยการตรวจจับและกำจัดโปรแกรมอันตรายต่างๆ ที่อาจแฝงตัวเข้ามาในเครือข่ายแบบเรียลไทม์ จึงช่วยให้สามารถป้องกันภัยคุกคามได้ทันทีที่ตรวจพบ พร้อมทั้งมีการอัปเดตฐานข้อมูลภัยคุกคามใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
- ความปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud Security)
ในยุคที่องค์กรส่วนใหญ่ย้ายข้อมูลและระบบงานไปบนคลาวด์ ทำให้ Cloud Security กลายเป็นสิ่งจำเป็น โดยระบบ Cloud Security มักประกอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูลที่จัดเก็บและส่งผ่านเครือข่าย การควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเข้มงวด และการติดตามกิจกรรมบนคลาวด์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังรวมถึงการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS และการรักษาความปลอดภัยของ API ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์
- ระบบป้องกันการบุกรุก (Intrusion Prevention System: IPS)
Intrusion Prevention System (IPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังและป้องกันการบุกรุกจากภายนอกอย่างอัตโนมัติ ระบบจะวิเคราะห์รูปแบบการโจมตีและดำเนินการป้องกันทันทีที่ตรวจพบภัยคุกคาม พร้อมทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเครือข่ายให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (Data Loss Prevention: DLP)
Data Loss Prevention (DLP) ออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรไม่ให้เกิดการรั่วไหล ระบบจะทำการจำแนกและติดตามการใช้งานข้อมูลสำคัญ ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูล และบังคับใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จัดเก็บ ข้อมูลที่กำลังจัดส่ง และข้อมูลที่กำลังใช้งาน ทำให้องค์กรมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญจะไม่รั่วไหลออกไปสู่ภายนอก
- ความปลอดภัยทางอีเมล (Email Security)
Email Security เป็นระบบที่มีความสำคัญในการป้องกันการโจมตีผ่านทางอีเมล เช่น การฟิชชิ่ง (Phishing) โดยระบบจะทำการกรอง Junk Email ตรวจจับอีเมลที่น่าสงสัย และสแกนไฟล์แนบที่อาจเป็นอันตราย นอกจากนี้ยังมีการเข้ารหัสอีเมล และตรวจสอบความถูกต้องของผู้ส่งเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ทำให้การสื่อสารทางอีเมลขององค์กรมีความปลอดภัยสูงสุด
ในการติดตั้งและใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ องค์กรต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ เริ่มจากการประเมินความต้องการและกำหนดงบประมาณที่เหมาะสม เลือกใช้โซลูชันที่เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และให้ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการติดตั้ง ที่สำคัญคือ ต้องมีการทดสอบระบบอย่างละเอียดและสม่ำเสมอ พร้อมทำการฝึกอบรมผู้ใช้งานให้เข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้ระบบรักษาความปลอดภัยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจาก Network Security
การลงทุนในระบบ Network Security ที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพจะนำมาซึ่งประโยชน์หลายประการสำหรับองค์กร ทั้งในด้านความปลอดภัย การดำเนินธุรกิจ และความน่าเชื่อถือ ดังนี้
- การปกป้องข้อมูลและทรัพย์สินดิจิทัล
Network Security ที่แข็งแกร่งช่วยปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ หรือการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบต่างๆ การมีระบบป้องกันที่ครอบคลุมจะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลสำคัญ และป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลทางการเงิน หรือความลับทางธุรกิจ
- การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น ลดการหยุดชะงักของระบบที่อาจเกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดการและติดตามการใช้งานทรัพยากรเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรสามารถวางแผนและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
- การสร้างความน่าเชื่อถือ
การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้นและความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืน
- การปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐาน
ระบบรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น PDPA, GDPR และมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกปรับหรือดำเนินคดีทางกฎหมาย
- การประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
แม้ว่าการลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยอาจมีค่าใช้จ่ายสูงในตอนแรก แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การกู้คืนระบบ การสูญเสียข้อมูล หรือค่าปรับจากการละเมิดกฎหมาย การมีระบบป้องกันที่ดีจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้อย่างมีนัยสำคัญ
- การเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน
ระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยช่วยให้องค์กรสามารถรองรับรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย เช่น การทำงานระยะไกล (Remote Work) หรือการใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน (BYOD) ได้อย่างปลอดภัย เพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
โซลูชัน Network Security จาก Sangfor
Sangfor มุ่งมั่นที่จะให้บริการเครื่องมือและบริการ Network Security ที่มีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม เช่น Sangfor NGFW ที่เป็น Next Generation Firewall ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ภัยคุกคามขั้นสูงผ่านเทคโนโลยี AI และ Machine Learning พร้อมระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (Data Loss Prevention) และการป้องกันการโจมตีแบบ Zero-day ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนในปัจจุบันได้อย่างมั่นใจ
หากองค์กรของคุณกำลังมองหาโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ครบวงจร สามารถติดต่อ Sangfor เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการป้องกันเครือข่ายที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรคุณ