การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ (Ransomware) และภัยคุกคามขั้นสูง (APTs) อื่นๆ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยการโจมตีทางไซเบอร์ที่ประสบความสำเร็จสามารถทำลายธุรกิจของบริษัท และมีผลกระทบที่ร้ายแรง ซึ่งรวมถึงการสูญเสียข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เงิน หรือชื่อเสียง ส่งผลให้ธุรกิจหลายแห่งจำเป็นต้องลงทุนในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันผลกระทบดังกล่าว ซึ่งนี่คือ จุดที่ Endpoint Detection and Response หรือ EDR เข้ามามีบทบาทในการปกป้องบริษัทจากภัยคุกคามที่เป็นอันตราย;

EDR คืออะไร?

Endpoint Detection and Response คือ ระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามที่มุ่งโจมตีอุปกรณ์ปลายทางในเครือข่าย เช่น เซิร์ฟเวอร์ แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และอุปกรณ์พกพา เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ง่าย จึงเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ระบบ EDR จะช่วยให้ทีมไอทีตรวจสอบพฤติกรรมของอุปกรณ์เหล่านี้ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถระบุและป้องกันพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายได้ก่อนที่จะเกิดการโจมตีทางไซเบอร์

คำว่า Endpoint Threat Detection and Response ถูกคิดขึ้นครั้งแรกโดย Anton Chuvakin จาก Gartner โดยเขาได้ระบุว่า โซลูชันความปลอดภัย EDR จะต้องมีความสามารถดังนี้

  1. ตรวจจับเหตุการณ์ความปลอดภัย
  2. ควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในอุปกรณ์ปลายทาง
  3. ตรวจสอบเหตุการณ์ความปลอดภัย
  4. ให้คำแนะนำในการแก้ไข

EDR ทํางานอย่างไร? 

ระบบ EDR อาศัยซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าสังเกต และบันทึกกิจกรรมของอุปกรณ์แบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมทั้งบันทึกระบบ การเปลี่ยนแปลงในรีจิสทรี (Registry) การเชื่อมต่อเครือข่าย และกิจกรรมของไฟล์ต่างๆ หลังจากนั้นซอฟต์แวร์จะส่งข้อมูลที่รวบรวมได้ไปยังเซิร์ฟเวอร์กลาง แล้วทำการวิเคราะห์โดยอัลกอริทึมขั้นสูง และเทคนิค Machine Learning เพื่อตรวจจับกิจกรรมที่เป็นอันตราย หากพบภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ระบบ EDR จะแจ้งเตือนไปยังทีมรักษาความปลอดภัย พร้อมระบุแหล่งที่มาของการโจมตี ประเภทของการโจมตี และอุปกรณ์ปลายทางที่ได้รับผลกระทบ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจำกัดภัยคุกคาม และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ EDR ยังมีคุณสมบัติการวิเคราะห์หลักฐานของภัยคุกคามทางดิจิทัล การล่าภัยคุกคาม การเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ และกระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้แบบอัตโนมัติอีกด้วย

What is endpoint detection and response (EDR)

ประโยชน์ของ EDR

ระบบ EDR มอบประโยชน์อันหลากหลายแก่การตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครือข่าย โดยเหตุผลสำคัญที่ควรมี EDR ไว้ในกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้แก่

1. มอบการป้องกันเชิงรุกต่อภัยคุกคามและการโจมตีขั้นสูง

ซอฟต์แวร์ EDR ช่วยป้องกัน และปกป้องเครือข่ายจากการโจมตีทางไซเบอร์เชิงรุก ด้วยการตรวจจับ และกำจัดภัยคุกคามก่อนที่จะสร้างความเสียหายหรือทำให้ข้อมูลสำคัญรั่วไหล ระบบนี้จะตรวจสอบกิจกรรมของอุปกรณ์ปลายทางและพฤติกรรมของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถระบุภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยคุณสมบัตินี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และมักมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ระบบป้องกันอุปกรณ์ปลายทางแบบดั้งเดิมจะตรวจพบได้ ด้วยเหตุนี้ ระบบ EDR จึงช่วยให้สามารถตรวจจับ และรับมือกับการบุกรุกดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

2. การเพิ่มขึ้นของการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Work) ส่งผลให้เครือข่ายมีช่องโหว่มากขึ้น

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราอย่างมาก แม้ในโลกหลังการระบาด หลายบริษัทยังคงเลือกใช้รูปแบบการทำงานแบบผสมผสานหรือการทำงานทางไกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ปลายทางเครือข่ายก็นำมาซึ่งช่องโหว่ที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

เมื่อผู้คนทำงานจากบ้านหรือสถานที่นอกสำนักงานมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ที่อาจถูกโจมตีผ่านอุปกรณ์ปลายทางขยายวงกว้างขึ้นตามไปด้วย เพราะอุปกรณ์ปลายทางเหล่านี้สามารถกลายเป็นช่องทางสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ดังนั้นระบบ EDR จึงช่วยให้มั่นใจว่า เครือข่ายภายในองค์กรยังคงได้รับการปกป้อง ไม่ว่าจะเข้าถึงจากที่ใดก็ตาม

3. แฮคเกอร์อาจซ่อนตัวอยู่ในระบบเป็นเวลานาน

ปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์สามารถดำเนินการได้อย่างเงียบเชียบภายในเครือข่าย และมักสร้างเส้นทางลับ (Backdoor) สำหรับเข้าถึงจากภายนอกเอาไว้ ด้วยศักยภาพในการค้นพบช่องโหว่ของซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการ (Operative System) จากแหล่งภายนอกนี้ ส่งผลให้ระบบ EDR มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตรวจจับภายในอย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ

4. รับรองการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Regulatory Compliance)

ภาครัฐตระหนักดีว่า การโจมตีทางไซเบอร์สามารถสร้างความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติ ดังนั้นจึงได้กำหนดกรอบกฎระเบียบที่เข้มงวด ซึ่งบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องจัดให้มีการป้องกันข้อมูลที่เพียงพอสำหรับลูกค้า หลายประเทศมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับการละเมิดกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ซึ่งจึงจำเป็นต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง ส่งผลให้การนำระบบ EDR มาใช้ไม่เพียงแสดงถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามข้อกำหนด แต่ยังช่วยป้องกันองค์กรจากค่าปรับมหาศาลที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล

5. โซลูชันอันชาญฉลาดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

การมีระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูงไม่ได้รับประกันการรั่วไหลของข้อมูล และตีความข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการถูกละเมิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่โซลูชัน EDR ช่วยให้การประมวลผล และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันช่องโหว่ที่มีอยู่ นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน เพราะการตรวจจับ และการตอบสนองต่ออุปกรณ์ปลายทางถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และสำหรับมาตรการรับมือที่มีประสิทธิภาพ  โดยมีทั้งเครื่องมือการวิเคราะห์ และแนวทางปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

6. ป้องกันการสูญเสียทางการเงิน และข้อมูลรั่วไหลจากการโจมตีทางไซเบอร์

เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยสามารถส่งผลกระทบทางการเงินต่อองค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือค่าปรับจากการละเมิดกฎระเบียบ การโจมตีทางไซเบอร์ทำให้องค์กรเกิดค่าใช้จ่าย และสูญเสียรายได้ แต่ระบบ EDR สามารถมอบการป้องกันแบบครอบคลุมที่ช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์หรือการสูญเสียข้อมูลที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนโดยรวมในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

7. คุ้มค่าคุ้มราคา

หากปราศจากความสามารถในการป้องกันที่ครอบคลุม กระบวนการแก้ไขปัญหาอาจยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่ระบบ EDR สามารถช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ เพื่อลดความจำเป็นในการใช้มาตรการรุนแรง เช่น การปรับปรุงหรืออัปเดตซอฟแวร์ภายในระบบทั้งหมด พร้อมช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก

องค์ประกอบของ EDR

ซอฟต์แวร์ EDR ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อมอบการป้องกันอุปกรณ์ปลายทางอย่างครอบคลุม ดังนี้

1. ซอฟแวร์ตัวแทน (Agent) ที่อุปกรณ์ปลายทาง

โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ปลายทางเพื่อเฝ้าระวังและปกป้อง ซึ่งทำหน้าที่รวบรวม และส่งข้อมูลไปยังระบบบริหารจัดการ EDR เพื่อวิเคราะห์

2. ระบบบริหารจัดการ EDR

ระบบจัดการแบบศูนย์กลางที่รับ และวิเคราะห์ข้อมูลจากซอฟแวร์ตัวแทน (Agent) ที่อุปกรณ์ปลายทาง โดยรับผิดชอบในการตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และแจ้งเตือนทีมไอที

3. ข้อมูลเชิงลึกด้านภัยคุกคาม

ระบบ EDR ใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามที่รู้จัก เพื่อระบุ และวิเคราะห์ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น

4. เครื่องมือวิเคราะห์

ระบบ EDR ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการวิเคราะห์ขั้นสูงในการตรวจจับภัยคุกคามที่ซับซ้อนสูง เครื่องมือเหล่านี้สามารถแยกแยะพฤติกรรมที่น่าสงสัยได้ แม้ว่าจะมีลักษณะที่คลุมเครือหรือคล้ายกับการใช้งานทั่วไป ช่วยให้การระบุภัยคุกคามมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งวิธีตรวจจับแบบดั้งเดิมอาจไม่สามารถตรวจพบได้

5. การล่าภัยคุกคาม (Threat Hunting) 

เครื่องมือ EDR ที่เหมาะสมควรสนับสนุนการล่าภัยคุกคาม เพื่อให้นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยสามารถค้นหากิจกรรมที่เป็นอันตรายได้แบบเชิงรุก

6. การตอบสนองต่อเหตุการณ์

ในระบบ EDR ส่วนนี้ทำหน้าที่แจ้งเตือนทีมรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น โดยฟังก์ชันการตอบสนองอัตโนมัติ ให้ข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการรับมือได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อมอบโซลูชันการรักษาความปลอดภัย EDR ที่ครอบคลุม ซึ่งสามารถตรวจจับ และตอบสนองต่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้แบบเรียลไทม์

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโซลูชัน EDR

การเลือกโซลูชัน EDR ที่เหมาะสมนั้นมีปัจจัยสำคัญหลายประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ EDR ที่เลือกใช้จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

1. ความสามารถในการขยายตัวของระบบ

โซลูชัน EDR ต้องสามารถรองรับจำนวนอุปกรณ์ปลายทางที่เพิ่มขึ้นได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อองค์กรเติบโตขึ้น การใช้โซลูชัน EDR ที่สามารถปรับขนาดได้อย่างเต็มที่จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

2. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน

โซลูชัน EDR ควรสามารถปรับแต่ง และยืดหยุ่นได้ตามความต้องการเฉพาะขององค์กร นอกจากนี้ยังควรสามารถปรับระดับการป้องกันให้เหมาะสมกับความเสี่ยง และช่องโหว่ที่เป็นจุดอ่อนของอุปกรณ์แต่ละเครื่องได้

3. การทำงานบนระบบคลาวด์

องค์กรควรลงทุนในโซลูชัน EDR ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความปลอดภัย และความสามารถในการขยายตัวของระบบได้อย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ยังช่วยลดความจำเป็นในการใช้เซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และภาระงานของทีมไอที

4. การบูรณาการ

เครื่องมือ EDR ควรสามารถทำงานร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่เดิมได้อย่างราบรื่น รวมถึงระบบ SIEM (Security Information and Event Management) หรือโซลูชันป้องกันภัยคุกคามอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่า การตอบสนองต่อภัยคุกคามจะเป็นไปอย่างครอบคลุม และประสานงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การสนับสนุนและการฝึกอบรม

โซลูชัน EDR จำเป็นต้องมีทีมสนับสนุนที่เชื่อถือได้ และตอบสนองรวดเร็ว  ซึ่งหมายความว่า ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องพร้อมให้บริการตลอดเวลา และทีมไอทีต้องได้รับการฝึกอบรมการใช้งานได้อย่างเพียงพอ

การประเมินปัจจัยเหล่านี้อย่างรอบคอบจะช่วยให้สามารถเลือกโซลูชัน EDR ที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะขององค์กร และปกป้องอุปกรณ์ปลายทางจากภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ Sangfor สามารถส่งมอบโซลูชันการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม (EDR) ที่ดีที่สุดเพื่อช่วยปกป้องอุปกรณ์ปลายทางของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทียบ EDR กับ EPP

EPP หรือ Endpoint Protection Platform (แพลตฟอร์มป้องกันอุปกรณ์ปลายทาง) เป็นการรวมเอาเครื่องมือป้องกันไวรัสยุคใหม่ (Next-Generation Antivirus หรือ NGAV) เข้ากับไฟร์วอลล์ ระบบป้องกันอีเมล ตัวกรองเว็บไซต์ และระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อสร้างเป็นชุดรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร โดยทั่วไปโซลูชัน EPP ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่รู้จักหรือภัยคุกคามที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับที่เคยพบเจอมาก่อน ในขณะที่ EDR มีความสามารถในการตรวจจับและจัดการกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่หรือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสามารถหลุดรอดผ่านระบบรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมได้ อย่างไรก็ตาม ระบบ EPP หลายระบบได้พัฒนาไปอีกขั้น โดยผนวกความสามารถของ EDR เข้าไปด้วย เช่น การวิเคราะห์ภัยคุกคามขั้นสูง และการติดตามกิจกรรมของผู้ใช้งาน ส่งผลให้ระบบมีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

EDR และ XDR แตกต่างกันอย่างไร?

XDR (Extended Detection and Response) และ MDR (Managed Detection and Response) เป็นกลไกการตรวจจับภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ โดยความแตกต่างหลักระหว่าง XDR และ MDR กับ EDR อยู่ที่ขอบเขตการป้องกันและวิธีการ

XDR รวมทรัพยากรด้านความปลอดภัยทั้งหมดเข้าด้วยกันในโครงสร้างแบบไฮบริดขององค์กร ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ปลายทาง เครือข่าย แอปพลิเคชัน อีเมล ระบบคลาวด์ และอื่นๆ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดการประสานงานในการป้องกัน ตรวจจับ และจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจาก EDR แล้ว XDR ยังผสานการทำงานร่วมกับระบบอย่าง SIEM และ SOAR ด้วย แม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่ XDR กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัย (SOCs) ด้วยการรวมศูนย์จุดควบคุม แหล่งข้อมูล การวิเคราะห์ และการปฏิบัติการ

ในทางกลับกัน MDR เป็นบริการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอกองค์กร ซึ่งมุ่งเน้นการต่อต้านภัยคุกคามที่หลุดรอดผ่านระบบป้องกันภายในขององค์กร โดยให้บริการเฝ้าระวัง ตรวจจับ และจัดการภัยคุกคามตลอด 24 ชั่วโมง บริการ MDR ใช้ทีมนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยที่มีความเชี่ยวชาญสูง โดยมักใช้เครื่องมือ EDR หรือ XDR ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ ส่งผลให้ MDR เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับองค์กรที่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยหรือเทคโนโลยีที่เหนือกว่าทรัพยากรหรืองบประมาณที่มีอยู่

โซลูชัน EDR ของ Sangfor

ปฏิเสธไม่ได้ว่า EDR เป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรทุกแห่ง เพราะภัยคุกคามทางไซเบอร์มีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้การตรวจจับ และตอบสนองต่อการโจมตีแบบเรียลไทม์กลายมาเป็นปัจจัยที่สำคัญ ด้วยโซลูชันที่เหมาะสม องค์สามารถเฝ้าระวังอุปกรณ์ปลายทางเพื่อตรวจหากิจกรรมที่น่าสงสัยได้แบบเชิงรุก และดำเนินการตอบสนองได้ทันที เพื่อลดความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดความเสียหายใดๆเพิ่มเติม โดยโซลูชัน EDR ที่ดีควรรองรับการขยายตัวได้ตามการเติบโตขององค์กร นอกจากนี้ยังควรมีความยืดหยุ่นในการติดตั้งและจัดการ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับโซลูชันรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ได้

ที่ Sangfor Technologies เรานำเสนอการป้องกันอุปกรณ์ปลายทางระดับสูงด้วย Endpoint Secure โซลูชันขั้นสูง และครอบคลุมความสามารถในการตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อุปกรณ์ปลายทางที่ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูล โดย Endpoint Secure ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งนำเสนอตัวเลือกในการติดตั้งที่ยืดหยุ่น และสามารถทำงานร่วมกับโซลูชันรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ได้ ด้วย Sangfor Endpoint Secure คุณจะได้รับความอุ่นใจ และมั่นใจว่า องค์กรของคุณได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามที่ซับซ้อนที่สุดในปัจจุบัน

วิดีโอด้านล่างแสดงการจำลองการโจมตีของแฮกเกอร์ที่เริ่มต้นจากอีเมลฟิชชิ่ง และวิธีที่ Sangfor สามารถปกป้ององค์กรของคุณจากการโจมตีดังกล่าว รับชมเลย

เรื่องราวความสำเร็จของ EDR จาก Sangfor

  • J&T Express บริษัทโลจิสติกส์ที่มีปริมาณการจัดส่งสูงสุดในอินโดนีเซีย ได้บรรลุความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการใช้โซลูชันความปลอดภัยของ Sangfor ร่วมกัน ได้แก่ Cyber Command, Next Generation Application Firewall, Endpoint Secure และ Internet Access Gateway 
  • โรงพยาบาลมิตรา เคลูอาร์กา ผู้นำด้านการดำเนินงานโรงพยาบาลชุมชนในอินโดนีเซียที่มีอัตรากำไรและความสำเร็จสูง ได้ใช้โซลูชันของ Sangfor ประกอบด้วย Next Generation Firewall, Sangfor Endpoint Secure และ Internet Access Gateway (IAG) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยของข้อมูลและการป้องกันมัลแวร์ 
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) มหาวิทยาลัยชั้นนำที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้นำ Endpoint Detection and Response ของ Sangfor มาใช้ร่วมกับโซลูชันอื่นๆ ภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและอำนวยความสะดวกในการจัดการแบบรวมศูนย์ ช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดการภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความท้าทายด้านความปลอดภัยในยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น 

เริ่มปกป้องอุปกรณ์ปลายทางของคุณตอนนี้ด้วย Sangfor Endpoint Secure, ติดต่อ Sangfor วันนี้เพื่อเรียนรู้วิธีที่เราสามารถช่วยคุณเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของคุณ

 

ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลธุรกิจ

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Related Glossaries

Cyber Security

What is CryptoLocker?

Date : 15 Nov 2024
Read Now
Cyber Security

Blockchain Security: Key Concepts, Threats, and Future Trends

Date : 15 Nov 2024
Read Now
Tech

What is HIPAA?

Date : 14 Nov 2024
Read Now

See Other Product

Sangfor Omni-Command
Replace your Enterprise NGAV with Sangfor Endpoint Secure
Cyber Command - NDR Platform - Sangfor Cyber Command - แพลตฟอร์ม NDR
Sangfor Endpoint Secure - Sangfor Endpoint ปลอดภัย
Internet Access Gateway (IAG)
Sangfor Network Secure - Next Generation Firewall (NGFW)