นิยามของ NDR - Network Detection and Response

NDR หรือ ระบบตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย (Network Detection and Response) คือ ระบบความปลอดภัยเครือข่ายประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ ตรวจสอบและวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เคลื่อนที่แบบ เหนือ-ใต้ (North-South Traffic) หรือ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Traffic) โดยใช้เซนเซอร์ในการรวบรวมข้อมูลที่ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม เมื่อพบรูปแบบการรับส่งข้อมูลที่น่าสงสัย ระบบ NDR จะทำการตอบสนองต่อภัยคุกคามโดยอัตโนมัติ หรือแจ้งเตือนทีมงานด้านความปลอดภัยให้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติม ฟีเจอร์การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภัยคุกคาม ถือเป็นจุดเด่นของ NDR ที่ช่วยให้ทีมงานสามารถเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย และลดความซับซ้อนในการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ NDR ยังมีบทบาทสำคัญในการตามล่าภัยคุกคามเชิงรุก (Threat Hunting) และการจัดการความเสี่ยง โดย Gartner Inc. ได้ให้คำจำกัดความว่า NDR เป็นระบบที่ใช้เทคนิคขั้นสูงที่ไม่ใช่แค่เพียงตรวจสอบภัยคุกคามโดยอาศัยลายเซ็น (เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง หรือเทคนิคการวิเคราะห์อื่นๆ) เพื่อตรวจจับปริมาณการรับส่งข้อมูลที่ผิดปกติในเครือข่ายองค์กร โดยเครื่องมือ NDR จะทำการวิเคราะห์ปริมาณการรับส่งข้อมูลทั้งหมดในเครือข่าย และ/หรือบันทึกข้อมูลเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแบบจำลองที่แสดงถึงพฤติกรรมปกติของเครือข่าย ช่วยให้สามารถตรวจจับความผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ทำไมถึงควรเลือกใช้ระบบตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย (NDR)

ในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้โจมตีได้มีการปรับปรุงและพัฒนาวิธี เทคนิค และขั้นตอนการโจมตี (TTP) ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับของระบบความปลอดภัยและสร้างความเสียหายที่รุนแรงยิ่งขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ทำให้การโจมตีทางไซเบอร์มีการพัฒนามากตัวขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดช่องโหว่ที่ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

จากการสำรวจพบว่า จำนวนเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจถึง 75% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMB) ตกเป็นเป้าหมายถึง 61% ของการโจมตีทั้งหมด แม้ว่าองค์กรขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณสูงจะเป็นเป้าหมายหลัก แต่ผู้โจมตีกลับพบว่าการโจมตีธุรกิจขนาดเล็กที่มีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ไม่แข็งแกร่งเป็นเรื่องง่ายกว่า หลังจากนั้น พวกเขาจะใช้ข้อมูลหรือสิทธิ์การเข้าถึงที่ได้จากการโจมตีดังกล่าวเป็นฐานในการเจาะเข้าองค์กรพันธมิตรที่ใหญ่กว่า หรือแม้กระทั่งโจมตีลูกค้าขององค์กรโดยตรง ทั้งนี้ Ransomware (แรนซัมแวร์) ยังคงเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เติบโตเร็วที่สุด โดยคาดว่ามูลค่าความเสียหายจะสูงถึง 265 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี 2031

เมื่อพิจารณาเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ ไม่มีโซลูชันความปลอดภัยใดที่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้ 100% ดังนั้น การสร้างระบบโซลูชันความปลอดภัยที่หลากหลายเข้ากับบุคลากรด้านความปลอดภัยที่มีทักษะจึงเป็นสิ่งจำเป็นในโลกไอที นอกจากนี้ ระบบการตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย (NDR) ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของ Gartner SOC Visibility Triad และกำลังกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่องค์กรต้องมีใน ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (SOC) เพื่อช่วยให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โซลูชัน NDR สามารถตรวจจับภัยคุกคามประเภทใดได้บ้าง?

โซลูชัน NDR ครอบคลุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์หลายประเภท โดยสามารถตรวจจับภัยคุกคามที่สำคัญดังนี้

  • มัลแวร์และการบุกรุก (Malware and Intrusions) - NDR มีความสามารถในการระบุและตรวจจับมัลแวร์และการบุกรุกที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยวิเคราะห์การใช้งานและพฤติกรรมบนเครือข่าย เพื่อตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัยและสัญญาณของภัยคุกคามที่เป็นอันตราย
  • ภัยคุกคามภายใน (Insider Threats) - ด้วยการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้และรูปแบบการเข้าถึง NDR สามารถตรวจ จับภัยคุกคามภายใน เช่น การพยายามเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต กิจกรรมที่ผิดปกติ หรือความพยายามขโมยข้อมูลโดยพนักงานหรือผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตแต่มีเจตนาไม่ดีแอบแฝง
  • การสูญหายและการรั่วไหลของข้อมูล - NDR ช่วยตรวจจับเหตุการณ์การสูญหายและการรั่วไหลของข้อมูล โดยเฝ้าระวังการถ่ายโอนข้อมูล วิเคราะห์การรับ-ส่งของข้อมูลที่ผิดปกติ และระบุความพยายามในการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ภัยคุกคามขั้นสูงต่อเนื่อง (Advanced Persistent Threats - APTs) - NDR วิเคราะห์พฤติกรรมบนเครือข่ายเพื่อค้นหาสัญญาณของการโจมตีที่ซับซ้อน เช่น การสื่อสารแบบควบคุมและสั่งการ (Command & Control) การเคลื่อนไหวภายในระบบ และการพยายามเพิ่มระดับสิทธิ์การเข้าถึง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามขั้นสูงที่ต่อเนื่อง

NDR ทำงานอย่างไรในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม

NDR (Network Detection and Response) มีลักษณะเฉพาะตรงที่ได้รับการออกแบบโดยยึดหลักว่าภัยคุกคามอาจซ่อนตัวอยู่ภายในเครือข่ายขององค์กร ดังนั้นเราจึงควรใช้แนวทางเชิงรุกในการตรวจจับภัยคุกคาม

วันนี้ Sangfor ได้รวบรวมไฮไลต์บางส่วนเกี่ยวกับการทำงานของ NDR ในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ดังนี้

  • ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการรับส่งข้อมูลจากทั่วทั้งเครือข่าย เพื่อให้ทีมงานรักษาความปลอดภัยสามารถมองเห็นกิจกรรมบนเครือข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายได้อย่างครบถ้วน
  • ใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลพื้นฐานสำหรับพฤติกรรมเครือข่ายปกติ และใช้การวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลด้วย AI อย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจจับกิจกรรมที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
  • ตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์และประสานงานกับเครื่องมือความปลอดภัยอื่น เพื่อตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อภัยคุกคามที่ตรวจพบหรือส่งการแจ้งเตือนอย่างทันท่วงทีให้กับทีมรักษาความปลอดภัยเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามที่เกิดขึ้น
  • เชื่อมโยงปริมาณการรับส่งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อพิจารณาว่าภัยคุกคามเข้ามาและเคลื่อนตัวผ่านเครือข่ายได้อย่างไร และเพื่อปรับปรุงการตอบสนองต่อเหตุการณ์และความพยายามในการตามหาภัยคุกคาม

มอบการมองเห็นเครือข่ายที่ครบถ้วน (Visibility)

หนึ่งในสาเหตุหลักที่สำคัญที่สุดในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคือ การขาดการมองเห็นข้อมูลภายในเครือข่าย เพราะคุณไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามที่มองไม่เห็นได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายโดยที่ผู้ดูแลระบบความปลอดภัยไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์นี้อยู่ ทำให้ไม่สามารถให้การป้องกันได้อย่างครอบคลุม

ดังนั้น การมีระบบ NDR จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยให้ผู้ดูแลระบบและทีมรักษาความปลอดภัยสามารถมองเห็นสิ่งสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยการตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณการใช้งานในเครือข่าย โซลูชัน NDR สามารถตรวจจับพฤติกรรมที่น่าสงสัยเพื่อตรวจหา ภัยคุกคาม พร้อมทั้งระบุอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีอุปกรณ์ใดถูกละเลยจากการป้องกัน

การตรวจจับระบบการทำงานที่ผิดปกติ สู่การเปิดเผยภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Detection)

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า มัลแวร์แบบไร้ไฟล์ (Fileless Malware) ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงในขณะนี้ เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้การตรวจจับลายเซ็นแบบเดิมมักไม่สามารถระบุได้ ผู้โจมตีมักใช้เครื่องมือที่ดูเหมือนปลอดภัยและเป็นที่รู้จักในเครือข่ายเพื่อซ่อนกิจกรรมของตน

โซลูชัน NDR ได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดการกับสถานการณ์เหล่านี้โดยเฉพาะ ด้วยการ ตรวจจับความผิดปกติ ที่ระบุกิจกรรมเครือข่ายที่เบี่ยงเบนจากพฤติกรรมปกติ แม้ว่าผู้โจมตีจะใช้วิธีที่ซับซ้อนแค่ไหน แต่กิจกรรมที่เป็นอันตรายก็ยังมีรูปแบบที่ต่างจากปกติ ซึ่ง NDR พร้อมตรวจจับได้

เพื่อให้แม่นยำยิ่งขึ้น NDR ใช้ การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) สร้างและปรับฐานข้อมูลพฤติกรรมปกติของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลการรับส่งในเครือข่ายจะถูกรวบรวมและวิเคราะห์ผ่าน AI และการวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อดึงรูปแบบกิจกรรมที่สำคัญ ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกเปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นฐานแบบเรียลไทม์ เพื่อระบุพฤติกรรมที่ผิดปกติ

การตอบสนองอัตโนมัติและการประสานงาน (Response)

NDR สามารถตั้งค่าให้ ตอบสนองต่อภัยคุกคามโดยอัตโนมัติ และประสานงานกับเครื่องมือด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ได้ทันที ตัวอย่างเช่น หากพนักงานคลิกลิงก์ฟิชชิ่ง (Phising) ที่เป็นอันตรายในอีเมลโดยไม่ตั้งใจ จนทำให้มัลแวร์ถูกดาวน์โหลดลงบนอุปกรณ์ แม้มัลแวร์จะหลบเลี่ยงไฟร์วอลล์หรือระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทางได้ แต่ NDR จะสามารถตรวจจับกิจกรรมของผู้โจมตีได้

การทำงานของ NDR จะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อระบุและเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายเข้าด้วยกัน จากนั้นจะส่งคำสั่งไปยังไฟร์วอลล์เพื่อบล็อกการสื่อสารในเครือข่าย และแยกอุปกรณ์ที่ถูกบุกรุกออก นอกจากนี้ NDR ยังสามารถสั่งให้โซลูชัน EDR (Endpoint Detection and Response) ทำการสแกนอุปกรณ์และลบไฟล์ที่เป็นอันตรายได้โดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถรับการแจ้งเตือนเพื่อตรวจสอบและตอบสนองด้วยตนเองได้เช่นเดียวกัน ทำให้การจัดการภัยคุกคามมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

EDR และ NDR แตกต่างกันอย่างไร?

EDR (Endpoint Detection and Response) และ NDR (Network Detection and Response) เป็นแนวคิดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • EDR เน้นความปลอดภัยในระดับจุดสิ้นสุด หรืออุปกรณ์ปลายทาง (Endpoints) โดยตรวจสอบกิจกรรมและพฤติกรรมของอุปกรณ์ปลายทาง
  • NDR มุ่งเน้นการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย เพื่อค้นหาและตอบสนองต่อภัยคุกคามในระดับเครือข่ายที่ครอบคลุม เพิ่มการมองเห็นให้กับองค์กรและสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุมคามไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี

ทั้ง EDR และ NDR มีบทบาทสำคัญในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม ช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่ครอบคลุมและสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย (NDR)

เชื่อว่าตอนนี้หลายๆ คนคงเข้าใจระบบการทำงานของ NDR ว่าทำงานอย่างไร และมีความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เหนือกว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งเรายังมีข้อดีของการใช้งาน NDR มานำเสนอ ดังต่อไปนี้

Advantages of Network Detection and Response

ขจัดช่องว่างด้านความปลอดภัย

โซลูชันความปลอดภัยเฉพาะจุด เช่น ไฟร์วอลล์หรือ EDR อาจมีช่องโหว่ที่ทำให้ภัยคุกคามหลบหลีกการตรวจจับได้ แต่ NDR สามารถวิเคราะห์ปริมาณการรับส่งข้อมูลเครือข่ายทั้งหมด ทำให้สร้างระบบที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงของภัยคุกคามที่ยากต่อการตรวจจับ

การตรวจจับภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง

NDR มีจุดเด่นที่การทำงานไม่สามารถปิดการใช้งานได้ง่ายเหมือนเครื่องมืออื่นๆ ผู้โจมตีอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกตรวจสอบ ทำให้สามารถจับพฤติกรรมที่ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจสอบแพ็กเก็ตเชิงลึก (Deep Packet Inspection)

มัลแวร์จำนวนมากถึง 90% มักซ่อนตัวอยู่ในข้อมูลที่เข้ารหัส ซึ่ง NDR สามารถตรวจจับได้ผ่านการวิเคราะห์ทราฟฟิกที่ละเอียดโดยไม่กระทบประสิทธิภาพของเครือข่าย

ปรับปรุงการแก้ไขปัญหาและการล่าภัยคุกคาม

NDR ช่วยให้นักวิเคราะห์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นหาจุดเริ่มต้นของการโจมตี และป้องกันการโจมตีซ้ำในอนาคต

ปกป้องอุปกรณ์ IoT (Internet of Things)

เนื่องจากอุปกรณ์ IoT มักมีช่องโหว่และไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ความปลอดภัยได้ NDR จึงเข้ามาช่วยตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติจากอุปกรณ์เหล่านี้ ป้องกันไม่ให้กลายเป็นช่องทางโจมตี

ข้อเสียของ NDR

แม้ว่าโซลูชัน NDR จะมีข้อดีหลายประการ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อเสียบางประการที่องค์กรควรรู้ เช่น

  • จุดบอดในการตรวจสอบทราฟฟิกที่เข้ารหัส: การรับส่งข้อมูลที่เข้ารหัสอาจทำให้ตรวจจับภัยคุกคามยากขึ้น
  • ผลบวกเท็จและลบเท็จ: อาจระบุภัยคุกคามผิดพลาด หรือพลาดภัยคุกคามจริง
  • การมองเห็นจุดสิ้นสุดได้แบบจำกัด: มุ่งเน้นเฉพาะเครือข่าย อาจตรวจจับพฤติกรรมจุดสิ้นสุดได้ไม่ครอบคลุม
  • ความซับซ้อนในการใช้งาน: ต้องการความเชี่ยวชาญและทรัพยากรเฉพาะทางในการตรวจสอบเชิงลึก

ดังนั้น องค์กรต่างๆ ควรพิจารณาข้อจำกัดเหล่านี้อย่างรอบคอบและประเมินว่าข้อจำกัดเหล่านี้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เฉพาะขององค์กรหรือไม่ โดยก่อนที่จะนำโซลูชัน NDR มาใช้ จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรอาจจะจะต้องเสริม NDR ให้เข้ากับมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อสร้างการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่รอบด้านและมีคุณภาพ

เลือกโซลูชัน NDR อย่างไรให้เหมาะสมกับองค์กร

เมื่อทางองค์กรได้ตัดสินใจเลือกโซลูชัน NDR องค์กรควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าโซลูชันนั้นเหมาะสมกับความต้องการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัทของคุณ วันนี้ Sangfor ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ผู้อ่านได้พิจารณาการเลือกใช้งาน NDR อย่างเหมาะสม ดังนี้

  • ความครอบคลุมและการมองเห็น - ประเมินความสามารถของโซลูชันในการครอบคลุมและมองเห็นโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายทั้งหมดของคุณอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical) เสมือนจริง (Virtual) หรือบนคลาวด์ (Cloud) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโซลูชันสามารถติดตามปริมาณการใช้งานเครือข่าย อุปกรณ์ปลายทาง และการสื่อสารที่เข้ารหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ มองหาโซลูชัน NDR ที่สามารถให้มุมมองที่ครอบคลุมทั้งเครือข่าย เพื่อช่วยให้ทีมไอทีสามารถวิเคราะห์และตรวจจับภัยคุกคามได้แม่นยำยิ่งขึ้น คุณลักษณะเหล่านี้ช่วยลดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาด และทำให้การตรวจจับและตอบสนองต่อมัลแวร์รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • ความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคาม - ประเมินว่าโซลูชัน NDR สามารถตรวจจับภัยคุกคามหลากหลายประเภทได้ดีเพียงใด เช่น มัลแวร์ การบุกรุก ภัยคุกคามภายใน การสูญเสียข้อมูล และภัยคุกคามต่อเนื่องขั้นสูง (APT) มองหาฟีเจอร์ที่มีการวิเคราะห์พฤติกรรม (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการรวมข้อมูลภัยคุกคาม เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการตรวจจับภัยคุกคาม
  • ความสามารถในการปรับขนาดและประสิทธิภาพ - พิจารณาความสามารถของโซลูชัน NDR ในการรองรับการขยายตัวของเครือข่ายและปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ตรวจสอบว่าโซลูชันสามารถจัดการข้อมูลเครือข่ายจำนวนมากโดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพหรือทำให้เกิดความล่าช้าในระบบ
  • การบูรณาการและความเข้ากันได้ - ตรวจสอบว่าโซลูชัน NDR สามารถบูรณาการเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือด้านความปลอดภัยที่คุณใช้อยู่ได้ดีเพียงใด เช่น ระบบจัดการเหตุการณ์ (SIEM) หรือโซลูชันด้านความปลอดภัยอื่นๆ โซลูชันควรช่วยปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองต่อภัยคุกคาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่เน้นระบบคลาวด์ โซลูชันควรรองรับการทำงานในระบบมัลติคลาวด์อย่างเต็มที่
  • การใช้งานและการรายงาน - ประเมินอินเทอร์เฟซผู้ใช้และความสะดวกในการใช้งานของโซลูชัน ควรมาพร้อมแดชบอร์ดที่เข้าใจง่าย รายงานที่สามารถปรับแต่งได้ และระบบแจ้งเตือนที่ให้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ - ตรวจสอบว่าโซลูชัน NDR สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎระเบียบของอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรฐานที่องค์กรของคุณต้องปฏิบัติตาม ควรมีฟีเจอร์ที่รองรับการรายงาน การเก็บรักษาบันทึก และการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  • ความน่าเชื่อถือและการสนับสนุนของผู้ให้บริการ - ศึกษาข้อมูล ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ NDR รวมถึงความเชี่ยวชาญ และความคิดเห็นจากลูกค้าของผู้ให้บริการ พิจารณาความสามารถในการสนับสนุนอย่างทันท่วงที เช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์ การแก้ไขปัญหา และการเข้าถึงทีมสนับสนุนทางเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของคุณจะได้รับการดูแลที่ดีในระยะยาว

หากพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยคุณจะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในการเลือกโซลูชัน NDR ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับกลยุทธ์ความปลอดภัยในระยะยาวของคุณ

โซลูชัน NDR อัจฉริยะของ Sangfor

Sangfor Technologies คือ ผู้นำด้านโซลูชันการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามมานานหลายปี เราได้พัฒนา Sangfor Cyber Command NDR เพื่อยกระดับการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม โดยใช้ กรอบความปลอดภัย (Framework) XDDR ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของเรา XDDR ทำหน้าที่ผสานรวม NDR เข้ากับผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยทั้งหมดของ Sangfor และผลิตภัณฑ์ของแบรนด์อื่นบางส่วน เพื่อสร้างแนวทางแบบองค์รวมในการต่อสู้กับภัยคุกคามอย่างแรนซัมแวร์และ APT ที่ใช้ AI เป็นอาวุธ

Cyber Command ใช้โมเดล AI ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการล่าภัยคุกคาม เพื่อตรวจจับและกำจัด AI ที่เป็นอาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ Sangfor เข้าใจถึงความจำเป็นในการมีระบบตรวจจับและตอบสนองเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่ทีมวิจัยและพัฒนาของเรา (R&D) ได้สร้าง Sangfor Cyber Command ขึ้น

Cyber Command มีความสามารถในการตรวจจับที่ล้ำสมัย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะหลากหลาย เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการวิเคราะห์ด้วย AI นอกจากนี้ Cyber Command Response Center ยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตามเครือข่ายได้อย่างรัดกุม ด้วยบันทึกที่ปรับตามบริบท อ่านง่าย และพร้อมใช้งานเพียงปลายนิ้วสัมผัส

เมื่อทำงานร่วมกับ Sangfor Endpoint Secure และ Sangfor Network Secure - Next Generation Firewall Cyber Command จะเพิ่มความเร็วในการตอบสนอง พร้อมทั้งมอบการปกป้องเครือข่ายของคุณอย่างสูงสุด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจของคุณจะปลอดภัยจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น

โดยทั่วไปไฟร์วอลล์ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจสอบเฉพาะปริมาณการรับส่งข้อมูลที่ผ่านไฟร์วอลล์เท่านั้น ที่ Sangfor Cyber ​​Command เราได้คิดค้นระบบ Network Traffic Analysis (NTA) โดยเราจะอยู่ติดกับสวิตช์หลักตัวใดตัวหนึ่งของคุณและวิเคราะห์ปริมาณการรับส่งข้อมูลทั้งหมดของคุณ

เจสัน หยวน รองประธานฝ่ายตลาดต่างประเทศของ Sangfor

วิดีโอไวท์บอร์ด “NDR คืออะไร” ใน Sangfor Cyber ​​Command

ทางทีมงานด้านความปลอดภัยของ Sangfor ได้สร้างวิดีโอไวท์บอร์ดเพื่ออธิบายรายละเอียดต่างๆ ของการตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย โดยในวิดีโอนี้ Jason Yuan ได้ให้คำอธิบายที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับ NDR และโซลูชัน Sangfor NDR ที่ชื่อว่า Cyber ​​Command

ความสำเร็จของ Sangfor NDR

  • Azienda Socio Sanitaria Territoriale (ASST) Lariana เป็นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีชื่อเสียงในเมืองโคโม ประเทศอิตาลี Sangfor Cyber ​​Command ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสามารถมองเห็นเครือข่ายได้รอบด้าน 360 องศาเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • Naquadria S.r.l เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์ข้อมูลที่เชื่อถือได้ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองปิอาเซนซา ประเทศอิตาลี โซลูชัน Cyber ​​Command NDR (การตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย) ของ Sangfor ช่วยให้ Naquadria มีศูนย์ควบคุมและตอบสนองขั้นสูงที่เชื่อถือได้สำหรับภัยคุกคามทุกประเภทที่ก่อกวนระบบที่เปิดให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงเซิร์ฟเวอร์เว็บและเมลด้วย

อนาคตของ NDR

อุตสาหกรรมการตรวจจับและตอบสนองเครือข่าย (NDR) ทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 17.5% ภายในปี 2026 ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของ NDR ในฐานะโซลูชันความปลอดภัยเครือข่ายชั้นนำ ในยุคที่แรนซัมแวร์และมัลแวร์มีความซับซ้อนมากขึ้น การมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น

Sangfor Technologies ได้นำเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และ AI ขั้นสูงมาใช้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของเครือข่ายและโซลูชันคลาวด์ ผลิตภัณฑ์เด่นของเรา Sangfor Cyber Command ใช้ระบบตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อปกป้องเครือข่ายของคุณอย่างรัดกุม เทคโนโลยีนี้ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายและเวลาหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้น

นอกจาก NDR แล้ว โซลูชันของ Sangfor ยังครอบคลุมถึงบริการคลาวด์ที่ปลอดภัยด้วย AI และการป้องกันจุดสิ้นสุด (Endpoint Protection) ที่ออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของการจัดการระบบไอที พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในทุกขั้นตอน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Sangfor และวิธีที่เราสามารถช่วยปกป้ององค์กรของคุณ สามารถติดต่อเราได้ทันที

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Glossaries

Cyber Security

What Is Enterprise Mobility Management (EMM)?

Date : 04 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

What is Secure Remote Access?

Date : 03 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

Disaster Recovery Site คืออะไร สำคัญกับข้อมูลของเราอย่างไร

Date : 23 Dec 2024
Read Now

See Other Product

Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE
Sangfor SSL VPN
Best Darktrace Cyber Security Competitors and Alternatives in 2024
Sangfor Omni-Command
Sangfor Endpoint Secure แอนตี้ไวรัสยุคใหม่ (NGAV) สำหรับองค์กรของคุณ