ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการปกป้องตัวตนบนโลกดิจิทัลของธุรกิจไม่ใช่กระบวนการแบบขั้นตอนเดียว แต่ต้องอาศัยหลายขั้นตอนร่วมกัน โดยมุ่งเน้นไปที่แง่มุมต่างๆ ของเครือข่ายการสื่อสาร สำหรับองค์กรต่างๆ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจที่ละเอียดอ่อน และระบบปฏิบัติการเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ซึ่งไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมอาจเคยเพียงพอที่จะทำสิ่งนี้ แต่ภัยคุกคามที่ใหม่กว่า และอันตรายมากขึ้นต้องอาศัยวิธีการที่ล้ำสมัยกว่าเดิม ส่งผลให้มีการพัฒนา Next-generation Firewall (NGFW) ขึ้นมา
แล้ว Next-generation Firewall คืออะไร? ในบทความนี้ Sangfor จะพาไปทำความรู้จักกับหน้าที่ และการทำงานของ Next-generation Firewall อย่างครอบคลุม พร้อมแนะนำ Next-generation Firewall จาก Sangfor
Next-generation Firewall คืออะไร?
Next-generation Firewall หรือ NGFWs เป็นเทคโนโลยีไฟร์วอลล์รุ่นล่าสุดที่ใช้การตรวจสอบแพ็กเก็ตเชิงลึก (DPI) สำหรับตรวจสอบเนื้อหา (Payload) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างกฎไฟร์วอลล์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นตามประเภทของข้อมูล แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ และผู้ใช้
ไฟร์วอลล์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 โดยมีบทบาทสำคัญต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคแรกๆ และเป็นรากฐานของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่า หากเทียบไฟร์วอลล์รุ่นที่สองและสามกับ Next-generation Firewall จะถือว่า Next-generation Firewall มีความครอบคลุมและปลอดภัยกว่ามาก
สำหรับประวัติของไฟร์วอลล์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ เพราะในบางครั้งการทำความเข้าใจ Next-generation Firewall ที่ดีที่สุด คือ การเปรียบเทียบกับไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิม
การทำงานของ Next-generation Firewall
หน้าที่ของไฟร์วอลล์เครือข่าย คือ การเป็นผู้พิทักษ์ขอบเขตของเครือข่าย โดยภายในของ NGFW การจราจรข้อมูลทั้งหมดจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยกำแพงนโยบายความปลอดภัย ซึ่งมีบทบาทในการระบุว่า ข้อมูลใดสามารถผ่านไปได้ และข้อมูลใดต้องถูกปฏิเสธ
NGFW เพิ่มขีดความสามารถของไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมด้วยการผสานฟังก์ชันการทำงานอื่นๆ เข้ามาด้วย อาทิ การทำงานในระดับแอปพลิเคชันของโครงสร้าง TCP/IP ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานคุณสมบัติต่างๆ อย่างระบบป้องกันการบุกรุก (IPS) การป้องกันมัลแวร์ แซนด์บ็อกซ์ และมาตรการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ช่วยให้ NGFW สามารถตรวจจับ และป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงได้แบบเชิงรุก ซึ่งช่วยปกป้องระบบขององค์กรจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
เทียบ Next-generation Firewall ไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิม
ตามแบบจำลอง Open Systems Interconnection (OSI) การสื่อสารเครือข่ายแบ่งออกเป็น 7 ระดับ จากบนลงล่าง ได้แก่ แอปพลิเคชัน (Application) การนำเสนอ (Presentation) เซสชัน (Session) การขนส่ง (Transport) เครือข่าย (Network) การเชื่อมโยงข้อมูล (Data-link) และกายภาพ (Physical) โดยการโจมตีทางไซเบอร์สามารถเล็งเป้าไปที่จุดอ่อนในระดับใดก็ได้ใน 7 ระดับนี้ ซึ่งในอดีต ผู้โจมตีมักมุ่งเน้นไปที่ช่องโหว่ใน 4 ระดับล่าง และมีแนวโน้มพุ่งเป้าไปที่ระดับบนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน
ไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมมีความสามารถที่ค่อนข้างเรียบง่าย เช่น การกรองแพ็กเก็ตและการตรวจสอบสถานะ โดยครอบคลุมเพียงระดับที่ 4 ของแบบจำลอง OSI เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ช่องโหว่ในระดับ 5 - 7 ไม่ได้รับการปกป้องอย่างเพียงพอด้วยไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิม
ในทางตรงกันข้าม ไฟร์วอลล์รุ่นใหม่สามารถกรองการรับส่งข้อมูลเครือข่ายได้ถึงระดับแอปพลิเคชันหรือระดับที่ 7 โดยอาศัยการนำองค์ประกอบหลักของไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมมาเสริมเข้ากับคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
ยกตัวอย่าง Next-generation Firewall ที่สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของแพ็กเก็ตรวมถึงต้นทางและปลายทางได้ ซึ่งช่วยให้สามารถรักษาความปลอดภัยได้อย่างยืดหยุ่นและปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังนิยมผสานรวมกับโซลูชันรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น Network Secure ของ Sangfor เพื่อเชื่อมโยงกับระบบป้องกันการบุกรุก ระบบข่าวกรองภัยคุกคามภายนอกที่ขับเคลื่อนด้วย AI และอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดนี้ NGFWs จึงสามารถนำเสนอการป้องกันที่แข็งแกร่งกว่าไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมได้
อดีของ Next-generation Firewall
-
Next-generation Firewall ให้ความปลอดภัยที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิม เพราะไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมมีข้อจำกัด เนื่องจากสามารถบล็อกการรับส่งข้อมูลได้เฉพาะตามพอร์ตเท่านั้น และขาดกฎเฉพาะสำหรับแอปพลิเคชัน การป้องกันมัลแวร์ และความสามารถในการตรวจจับ และบล็อกพฤติกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งทำให้ไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีผ่านพอร์ตที่ไม่ได้มาตรฐาน
ในทางกลับกัน Next-generation Firewall มอบการรักษาความปลอดภัยที่ละเอียดอ่อนและคำนึงถึงบริบทโดยรอบ สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายข่าวกรองภัยคุกคามภายนอกได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับข้อมูลอัปเดตและป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งยังมีการใช้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะเพื่อปรับปรุงและอัปเดตนโยบายความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการดำเนินการจากเจ้าหน้าที่ไอที -
ยิ่งไปกว่านั้น Next-generation Firewall ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น โดยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการจัดการ ด้วยการผสานคุณสมบัติด้านความปลอดภัยหลายอย่างไว้ในโซลูชันเดียว พร้อมระบบรายงานที่รวมศูนย์ ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ไอทีและลดความเสี่ยงในการละเมิดความปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยหลายตัวแยกกัน
ฟีเจอร์สำคัญของ Next-generation Firewall
Next-generation Firewall ทุกตัวไม่ได้เหมือนกันเสมอไป โดยหลายตัวสามารถปรับให้ตรงกับความต้องการเฉพาะขององค์กรได้ ซึ่งมีฟีเจอร์การทำงาน ดังนี้
Web application firewall (WAF)
ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว หนึ่งในข้อได้เปรียบหลักของ Next-generation Firewall คือ ความสามารถในการกรองข้อมูลได้ถึงชั้นที่ 7 ของโมเดล OSI โดยมี Web Application Firewall (WAF) ทำหน้าที่กรองการรับส่งข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันและเว็บไซต์อย่างละเอียด แทนการกรองข้อมูลตามพอร์ตแบบดั้งเดิม
WAF สามารถใช้กฎที่อิงตามแอปพลิเคชันได้ หรือที่เรียกว่า การรับรู้แอปพลิเคชัน (Application Awareness) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ Next-generation Firewall ยกตัวอย่าง Sangfor Network Secure ที่ผสานรวมกับ Sangfor WAF เพื่อให้การป้องกันในระดับนี้
An intrusion prevention system (IPS)
ระบบป้องกันการบุกรุกหรือ IPS (แตกต่างจากระบบตรวจจับการบุกรุกหรือ IDS) เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของ Next-generation Firewall โดย IPS ทำหน้าที่เฝ้าระวังเครือข่ายเพื่อตรวจหาภัยคุกคามและกำจัดทันทีที่พบ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของไฟร์วอลล์ ซึ่ง IPS สามารถทำงานได้โดยการจับคู่กับภัยคุกคามที่รู้จัก การบล็อกกิจกรรมที่ละเมิดนโยบาย หรือการตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติ
External threat intelligence
ประสิทธิภาพของไฟร์วอลล์ขึ้นอยู่กับความชาญฉลาดของตัวมันเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนมักได้รับคำแนะนำให้ติดตั้งการอัปเดตความปลอดภัยบ่อยๆ โดย Next-generation Firewall มักผสานรวมกับข่าวกรองภัยคุกคามจากภายนอก (External Threat Intelligence) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับภัยคุกคาม เช่น Sangfor Network Secure ที่เชื่อมโยงกับ Sangfor Neural-X ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มข่าวกรองและวิเคราะห์ภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI บนคลาวด์ โดย Network Secure สื่อสารกับ Neural-X แบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยระบุภัยคุกคามที่ซ่อนเร้นที่สุด ซึ่งข้อมูลที่ใช้โดย Neural-X ได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่องจากหลายแหล่งและเสริมประสิทธิภาพด้วย Deep Learning
Deep packet inspection (DPI)
ไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิมสามารถตรวจสอบแพ็กเก็ต (หรือกรองแพ็กเก็ต) ได้ โดยจะตรวจสอบส่วนหัวของ IP แพ็กเก็ต เพื่อเรียนรู้แหล่งที่มาและปลายทาง จากนั้นจะตัดสินใจอนุญาตหรือปฏิเสธการผ่านของแพ็กเก็ตตามข้อมูล และชุดพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
Next-generation Firewall ได้ยกระดับการตรวจสอบแพ็กเก็ตไปอีกขั้น ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การตรวจสอบแพ็กเก็ตเชิงลึก (Deep Packet Inspection) ซึ่งสามารถตรวจสอบทั้งแหล่งที่มา ปลายทาง และเนื้อหาภายในของแพ็กเก็ตได้อย่างละเอียดในแบบเรียลไทม์ ด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลที่ทรงพลังมากขึ้น เมื่อผสานรวมกับข่าวกรองภัยคุกคามภายนอก การตรวจสอบแพ็กเก็ตเชิงลึกจึงเป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างยิ่ง
Security Operations Center
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (Security Operations Center หรือ SOC) ถือเป็นหัวใจของ Next-generation Firewall ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมและจัดการไฟร์วอลล์ รวมถึงเครื่องมือรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ซึ่งช่วยลดภาระทีมไอทีในการจัดการแต่ละส่วนของสถาปัตยกรรมความปลอดภัยอย่างละเอียด การนำเสนอทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มักมาจากผู้ให้บริการที่นำเสนอการผสานรวมระบบเข้ากับแผงควบคุมที่ใช้งานง่าย ทำให้ Next-generation Firewall สามารถให้ประสิทธิภาพสูงสุดและการดูแลที่ยอดเยี่ยม
Sandboxing
บางครั้งไฟล์ที่ดูซึ่งส่งผ่านเครือข่ายของคุณไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าปลอดภัยหรือไม่ เนื่องจากมีมัลแวร์สายพันธุ์ใหม่ถูกปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องและยังไม่ถูกตรวจพบแซนด์บ็อกซ์จึงเข้ามามีบทบาทในการทดสอบไฟล์เหล่านี้ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมและแยกออกมาอย่างปลอดภัย โดยผลลัพธ์จากการทดสอบจะถูกส่งต่อเข้าสู่ระบบข่าวกรองภัยคุกคาม เช่น Next-generation Firewall ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีแซนด์บ็อกซ์อย่าง Sangfor ZSand จึงมักถูกรวมไว้ในแพ็คเกจ Next-generation Firewall เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอย่างรอบด้าน
การตรวจจับมัลแวร์ด้วย AI
ท้ายที่สุด ไฟร์วอลล์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อสามารถระบุกิจกรรมที่เป็นอันตรายได้รวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ Next-generation Firewall หลายรุ่นจึงถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ตรวจจับมัลแวร์ ยกตัวอย่าง Sangfor Network Secure ที่ทำงานร่วมกับ Engine Zero ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจจับมัลแวร์แบบเรียลไทม์ที่เราพัฒนาขึ้นเอง โดยขับเคลื่อนด้วย AI ที่ล้ำสมัย โดย Engine Zero ใช้เทคโนโลยี Machine Learning และอัลกอริธึม AI เพื่อให้การตรวจจับมัลแวร์มีความแม่นยำสูงถึง 99.76%
ความสามารถในการขยายขนาด
Next-generation Firewall มักถูกนำเสนอเป็นบริการจากผู้ให้บริการด้านความปลอดภัย เช่น Sangfor ซึ่งมีข้อดีหลายประการ โดยประการแรก คือ มีทีมผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทคอยสนับสนุนการติดตั้ง แก้ไขปัญหา และจัดการไฟร์วอลล์อย่างมืออาชีพ ประการที่สอง คือ บริการในลักษณะนี้ช่วยให้องค์กรสามารถขยายขนาดได้ง่ายและราบรื่นเมื่อองค์กรเติบโตขึ้น
การจัดการที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัว
Next-generation Firewall มักมาพร้อมกับ SOC แบบรวมศูนย์ที่นำเสนอแผงควบคุมที่ใช้งานง่ายสำหรับการดูแลและจัดการอย่างสะดวก โดยวิธีการแบบบูรณาการนี้ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการและตรวจสอบไฟร์วอลล์ รวมถึงเครื่องมือรักษาความปลอดภัยอื่นๆ จากที่เดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย SOC การจัดการด้านต่างๆ ของสถาปัตยกรรมความปลอดภัยจึงง่ายขึ้น ซึ่งทำให้เกิดประสบการณ์การจัดการความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ
Firewalls are not designed to be a standalone, one-size-fits-all security solution. They are most effective when combined with a range of other solutions. For this reason, firewalls can come with a plethora of other additional features and solutions not listed above. For example, many are integrated with application control, endpoint detection and response software, and much more.
การผสานรวมกับคุณสมบัติเพิ่มเติม
ไฟร์วอลล์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นโซลูชันความปลอดภัยแบบเบ็ดเสร็จที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับโซลูชันอื่นๆ ที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้ ไฟร์วอลล์จึงอาจมาพร้อมกับคุณสมบัติและโซลูชันเพิ่มเติมอื่นๆ อีกมากมายนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น หลายระบบถูกผสานรวมกับการควบคุมแอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ตรวจจับและตอบสนองที่จุดปลายทาง และอื่นๆ อีกมากมาย
ทำไมธุรกิจจึงต้องการไฟร์วอลล์รุ่นใหม่?
หากไม่มีไฟร์วอลล์ เครือข่ายจะตกอยู่ในความเสี่ยงสูง องค์กรอาจตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ไฟร์วอลล์ไม่ได้ถูกสร้างมาเหมือนกันทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Next-generation Firewall ที่มีความสามารถด้านความปลอดภัยที่ก้าวล้ำกว่าไฟร์วอลล์แบบดั้งเดิม ด้วยคุณสมบัติการกรองแอปพลิเคชันในระดับชั้นที่ 7 และการป้องกันที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้สามารถปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามที่ซับซ้อนและอันตรายมากขึ้น Next-generation Firewall จึงกลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับองค์กรในการป้องกันภัยคุกคามสมัยใหม่
อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักไว้ว่าไฟร์วอลล์รุ่นใหม่ควรเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมความปลอดภัยแบบองค์รวม โดยไฟรวอลล์ควรทำงานร่วมกับโซลูชันอื่นๆ เช่น แผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ ความปลอดภัยที่จุดปลายทาง และอื่นๆ ไฟร์วอลล์รุ่นใหม่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทุกชั้นของโมเดล OSI ได้อย่างสมบูรณ์