ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โซลูชันแบบดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอสำหรับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นและปลอดภัย Secure Access Service Edge (SASE) จึงเกิดขึ้นในฐานะโซลูชันที่ผสานการเชื่อมต่อและความปลอดภัยเข้าด้วยกันบนคลาวด์ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในโลกดิจิทัล

SASE Gartner Article

SASE คืออะไร?

Gartner ได้ให้คำจำกัดความของ SASE ว่าเป็น การส่งมอบบริการเครือข่ายและความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ (Network and Security As a Service) ซึ่งรวมไปถึง SD-WAN, SWG, CASB, NGFW และการเข้าถึงเครือข่ายแบบ Zero Trust (ZTNA) นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดและ Remote Work ส่งผลให้ SASE มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก "สามารถรองรับการเข้าถึงอย่างปลอดภัยสำหรับสำนักงานสาขา พนักงานที่ทำงานระยะไกล และการใช้งานภายในองค์กร”

Secure Access Service Edge (SASE) เป็นการผสานฟังก์ชันและโซลูชันความปลอดภัยเครือข่ายแบบ Cloud-Native ที่ออกแบบมาเพื่อการเข้าถึงที่ปลอดภัย (Secure Access) สำหรับองค์กรทั่วโลกที่เผชิญกับภูมิทัศน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยรวมเครือข่ายแบบ Software-Defined เข้ากับความปลอดภัยเครือข่ายในบริการเดียว ซึ่งผู้ใช้งานสามารถควบคุมและเฝ้าสังเกต Traffic ของเครือข่าย การเข้าถึงของผู้ใช้ และข้อมูลสำหรับองค์กรได้ดียิ่งขึ้น

คำว่า "SASE" พูดถึงเป็นครั้งแรกโดย Gartner ในรายงานเดือนสิงหาคม 2019 เรื่อง "The Future of Network Security in the Cloud" และได้ขยายความเพิ่มเติมใน แผนกลยุทธ์ SASE Convergence ปี 2021 ซึ่งรายงานระบุว่า "ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในองค์กรดิจิทัลต้องการเครือข่ายและความปลอดภัยของเครือข่าย ที่สามารถนำไปใช้ได้เมื่อและที่ใดก็ตามที่ต้องการ และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่จำเป็นได้"

การระบาดของ COVID-19 ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของโซลูชันในการเชื่อมต่อพนักงาน สำนักงาน และสาขาที่อยู่ห่างไกล เมื่อธุรกิจต่างๆ เร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ในช่วงการระบาด ความสามารถของ SD-WAN ได้กลายเป็นดาวเด่นด้านความปลอดภัยและการเชื่อมต่อที่คุ้มค่า สำหรับเครือข่ายระยะไกลและแอปพลิเคชัน Third-Party อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ VPN และ Web Gateway มีความสามารถเหนือกว่า SD-WAN ในการเชื่อมต่อและความปลอดภัยแบบครบวงจร

การมาถึงของ SASE ได้เปลี่ยนเกมไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ใน การคาดการณ์ของ Gartner ระบุว่า "ภายในปี 2025 องค์กรกว่า 65% จะรวมองค์ประกอบ SASE แต่ละส่วนเข้ากับผู้ให้บริการ SASE หนึ่งหรือสองรายที่เป็นพาร์ทเนอร์กันอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2021"

เกี่ยวกับ Gartner

Gartner เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านไอที องค์กรให้คำแนะนำในการปฏิบัติ ข้อมูล บทวิจารณ์ และเครื่องมือสำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่น่าเชื่อถือ โดยในปี 2019 บริษัทเห็นช่องว่างในโซลูชันที่มีอยู่ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงสู่คลาวด์และความปลอดภัยเครือข่าย ซึ่งนำไปสู่การสร้าง SASE

Gartner ได้กล่าวว่า "SASE คือ รูปแบบบริการที่มีความปลอดภัยสูง โดยอิงจากเอนทิตี (Entity) บริบทแบบเรียลไทม์ นโยบายความปลอดภัย/การปฏิบัติตามขององค์กร และการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง Session โดยตัวตนของเอนทิตีสามารถเชื่อมโยงกับบุคคล กลุ่มคน (สำนักงานสาขา) อุปกรณ์ แอปพลิเคชัน บริการ ระบบ IoT หรือตำแหน่งที่ตั้งของ Edge Computing"

เมื่อเราทราบแล้วถึงที่มาของ SASE ต่อไป มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการปฏิวัติวงการนี้กัน

SASE ทํางานอย่างไร?

Secure Access Service Edge ถูกมองว่าเป็น “ผู้สืบทอด” ของ SD-WAN อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน แต่ SASE ทำงานอย่างไร และเหตุใดจึงก้าวขึ้นมาแทนที่ SD-WAN อย่างรวดเร็วในฐานะโซลูชันการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยม?

Secure Access Service Edge เป็นบริการด้านความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security) และการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ซึ่งกำกับดูแลโดยศูนย์ควบคุมกลางและบริหารจัดการจากคลาวด์ พร้อม Vibilility ที่ดีขึ้นและการทำ Automated Analytic แบบอัตโนมัติ โดย SASE ใช้กฎตามนโยบายกับอุปกรณ์เครือข่ายและผู้ใช้ ซึ่งอ้างอิงจากอุปกรณ์หรือผู้ใช้ บทบาท พฤติกรรม และตำแหน่งที่ตั้ง หรือปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้การเข้าถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลอย่างปลอดภัย ไม่ว่าคุณจะอยู่ห่างไกลจาก Data Center หลักเพียงใดก็ตาม

Secure Access Service Edge มอบการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้สำหรับองค์กรที่ต้องการเชื่อมโยงสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และความปลอดภัยเครือข่ายขั้นสูง
ในทางเทคนิค แทนที่จะทดแทน Software-Defined Wide Area Network (SD-WAN) บริการ SASE ใช้แนวทางแบบ Multifunctional ที่รวม SD-WAN รวมถึง SWG, CASB, ZTNA และ FWaaS เป็นความสามารถหลัก ด้วยความสามารถในการระบุข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและ มัลแวร์ หรือความสามารถในการถอดรหัสอย่างรวดเร็วภายใต้การกำกับดูแล

SASE ทำงานโดย:

  • เป็น Cloud Native - การทำงานจากภายในคลาวด์ทำให้ SASE สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความยืดหยุ่น และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่
  • อิงตามตัวตน (Based on Identity) - การเข้าถึงเครือข่ายและคุณภาพของบริการถูกกำหนดโดยผู้ใช้ และทรัพยากรถูกกำหนดโดยนโยบายของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดสรรฟังก์ชันที่เหมาะสมตามความจำเป็น
  • ระดับโลก (Global Scale) - SASE ให้บริการครอบคลุมทุกเครือข่ายเพื่อมอบบริการและความสามารถด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน

สถาปัตยกรรมของ SASE

โมเดล SASE (Secure Access Service Edge) ผสานรวมบริการเครือข่ายและความปลอดภัยเข้าด้วยกันใน Architecture แบบ Cloud-Native ที่เป็นหนึ่งเดียว โดยรวมองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความสามารถของ SD-WAN (Software-Defined Wide Area Network) เข้ากับฟังก์ชันความปลอดภัย อาทิ SWG (Secure Web Gateway), FWaaS (Firewall as a Service), ZTNA (Zero Trust Network Access) และ CASB (Cloud Access Security Broker)

สถาปัตยกรรมลักษณะนี้ช่วยให้องค์กรสามารถทำการ Centralize นโยบายเครือข่ายและความปลอดภัย โดยนำไปใช้อย่างสอดคล้องกับการ Traffic ในเครือข่ายและ Access Point ของผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งการติดตั้ง SASE ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุการเชื่อมต่อที่ปรับขนาดได้ คล่องตัว และปลอดภัย พร้อมทั้งลดความซับซ้อนในการจัดการผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์แบบรวมศูนย์ (Unified Cloud-Based Platform)

องค์ประกอบของ SASE

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น SASE ผสานความสามารถของ SD-WAN เข้ากับฟังก์ชันความปลอดภัยเครือข่ายหลายอย่างซึ่งเข้าถึงได้สะดวกบนแพลตฟอร์มคลาวด์เดียว ทำให้องค์กรสามารถควบคุม Traffic ภายในเครือข่ายและข้อมูลที่ดีขึ้น โดยองค์ประกอบหลักของ SASE ได้แก่

  1. Software-Defined WAN (SD-WAN) - SASE ไม่ได้แทนที่ SD-WAN แต่จะช่วยให้การจัดการ WAN เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด โดยใช้ความสามารถในการให้ความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงระยะไกล (Remote Access) การจัดเส้นทางเครือข่าย (Network Routing) การเชื่อมต่อ (Gloabal Connectivity) และ Cloud Acceleration ที่ดีที่สุด
  2. Secure Web Gateway (SWG) - โซลูชัน Secure Web Gateway ปกป้องผู้ใช้จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ ฟิชชิง และการรั่วไหลของข้อมูลผ่านการกรอง Network Traffic อย่างครอบคลุม SASE บริการ Secure Web Gateway ทั่วเครือข่าย ทำให้มั่นใจว่าความปลอดภัยเครือข่ายระยะไกลได้รับการดูแลด้วยเช่นกัน
  3. Firewall as a Service (FWaaS) - ไฟร์วอลล์มักเป็นแนวป้องกันด่านแรกสำหรับเครือข่ายต่อการโจมตีทางไซเบอร์ SASE รวมฟังก์ชัน Firewall-as-a-Service ที่สามารถรักษาความปลอดภัยเครือข่ายภายในโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์ และให้โซลูชัน Virtual ที่ปรับขนาดได้ และมีความยืดหยุ่น เพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่ายของคุณ
  4. Zero-Trust Network Access (ZTNA) - แพลตฟอร์มการเข้าถึงเครือข่ายแบบ Zero-Trust อาศัยแนวคิดที่ว่าแอปพลิเคชันควรปรับการเข้าถึงตามผู้ใช้แต่ละคนและต้องการการยืนยันแบบเรียลไทม์ของทุกอุปกรณ์ที่ใช้ จึงรับประกันความปลอดภัยสูงสุด
  5. การจัดการแบบรวมศูนย์ - ในบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานไอทีอาจมีความยุ่งยากในการจัดการ โดยเฉพาะเมื่อองค์กรใช้บริการหลายอย่าง โดย SASE ช่วยให้ง่ายขึ้นโดยจัดหาการตรวจสอบเครือข่ายและโซลูชันความปลอดภัยทั้งหมดที่คุณต้องการภายในแพลตฟอร์มเดียว
  6. Cloud Access Security Broker (CASB) - Cloud Access Security Broker ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับภัยคุกคามใหม่ๆ ในการประมวลผลแบบคลาวด์ SASE เพิ่มฟังก์ชันที่จำเป็นนี้เข้าไปในรายการเพื่อให้มั่นใจว่าความปลอดภัยคลาวด์และข้อมูลของคุณอยู่ในมือที่ปลอดภัยเสมอ

SASE components

ในขณะที่ทั้งหมดนี้เป็นฟังก์ชันที่สามมารถนำไปใช้ในโครงสร้างพื้นฐานของคุณ แล้วข้อดีของ SASE ต่อธุรกิจของมีอะไรบ้าง?

ใครได้ประโยชน์จาก SASE มากที่สุด

องค์กรที่ต้องการการเข้าถึงโดยตรงอย่างปลอดภัยระหว่างสาขาหรือสำนักงานระยะไกลจะพบว่าการติดตั้ง SASE นั้นมีประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ SASE ยังเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีงบประมาณจำกัด ซึ่งอาจไม่สามารถลงทุนติดตั้งมาตรการความปลอดภัยในทุกสถานที่ได้ นอกจากนี้ SASE ยังเหมาะกับองค์กรที่กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลด้วยระบบคลาวด์ เพราะ SASE ให้ความสำคัญกับการกระจายความปลอดภัยในการเข้าสำหรับบุคลากรในองค์กร

Secure Access Service Edge คือ อนาคตของความปลอดภัย

Gartner คาดการณ์ ว่าภายในปี 2026 ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายและความปลอดภัยที่ไม่สามารถนำเสนอ SASE ที่น่าสนใจได้จะถูกจำกัดให้อยู่ในโอกาสทางการตลาด ดั่งที่กล่าวไปข้างต้น SASE เป็นการผสมผสานระหว่างความปลอดภัยเครือข่ายและคลาวด์ ซึ่งมอบข้อดีจากทั้งสองอย่างร่วมกัน

องค์กรต่างๆ มักประสบปัญหาในการจัดหาระบบการจัดการที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดสำหรับโซลูชันเครือข่ายของตน ด้วยระบบสำคัญมากมาย เช่น SD-WAN, NGFW, Secure Web Gateway และอุปกรณ์ VPN การจัดการอาจซับซ้อนอย่างเข้าใจได้เมื่อต้องดำเนินการแต่ละโซลูชันแยกกัน

นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านไอที และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสำนักงานระยะไกล แสดงให้เห็นช่องว่างในการจัดการได้อย่างชัดเจน องค์กรบางแห่งอาจลังเลที่จะใช้ SASE แต่ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการไปแล้วในบางรูปแบบ ซึ่งขั้นตอนสำคัญในการนำโมเดล SASE มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่

  • การย้ายไปสู่คลาวด์
  • การทำงานระยะไกลที่ปลอดภัย
  • การย้ายการป้องกัน DDoS ไปที่ Edge
  • การวางสำนักงานสาขาไว้หลังเขตความปลอดภัยคลาวด์
  • การแทนที่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยด้วยการบังคับใช้นโยบายแบบ Cloud-Native ที่เป็นหนึ่งเดียว

Sangfor Technologies เป็นผู้ให้บริการไอทีชั้นนำระดับโลกที่มีฐานอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประมวลผลแบบคลาวด์ และมีโมเดล SASE แบบ Ready-to-Use พร้อมใช้งานสำหรับการติดตั้งในองค์กรของคุณ

ความท้าทายในการใช้งาน SASE

  • การกำหนดบทบาทใหม่และการทำงานร่วมกัน: ในการนำโซลูชัน SASE มาใช้งาน องค์กรจำเป็นกำหนดบทบาทหน้าที่และการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมเครือข่ายและทีมความปลอดภัย โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์
  • การจัดการความซับซ้อนของผู้ให้บริการ: SASE ช่วยทำให้การเลือกผู้ให้บริการง่ายขึ้น ด้วยการผสานเครื่องมือและวิธีการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ Digital Transformation
  • การรับประกันความครอบคลุม: การสร้างสมดุลระหว่างกลยุทธ์แบบ Cloud-Driven และ On-Premises สำคัญต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายและความปลอดภัยที่ราบรื่น โดยเฉพาะในการติดตั้งภายในองค์กรที่มีสาขาจำนวนมาก
  • การสร้างความเชื่อมั่นใน SASE: การทำงานร่วมกับผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือมีความสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและรับประกันการผสานรวมเครือข่ายและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์
  • การเลือกและผสานผลิตภัณฑ์: ทีมไอทีที่แยกส่วนอาจจำเป็นต้องเลือกและผสานผลิตภัณฑ์หลายอย่างสำหรับเครือข่ายและความปลอดภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • การจัดการการกระจายตัวของเครื่องมือ: การระบุและลดความซ้ำซ้อนในเครื่องมือที่มีอยู่ จะช่วยรับประกันโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียวระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่แนวทาง SASE ที่เน้นคลาวด์เป็นศูนย์กลาง
  • แนวทางการทำงานร่วมกัน: การนำ SASE มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายามร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและเครือข่าย เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และประโยชน์สูงสุดขององค์กร

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ SASE

1. SASE เป็นเพียง VPN บนคลาวด์เท่านั้น

ในความจริง SASE มอบประโยชน์มากกว่า VPN แบบดั้งเดิม โดยผสาน Secure Web Gateway, Cloud Access Security Broker และ Firewall as a Service เพื่อความปลอดภัยที่ครอบคลุมในการเชื่อมต่อเครือข่าย

2. องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากการใช้ SASE

ธุรกิจทุกขนาดสามารถได้รับประโยชน์จาก SASE ซึ่งจะเข้ามาช่วยทำให้การจัดการเครือข่ายและความปลอดภัยง่ายขึ้น พร้อมทั้งปรับขนาดได้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของแต่ละธุรกิจ

3. SASE ใช้ได้เฉพาะกับสภาพแวดล้อมการทำงานระยะไกลเท่านั้น

SASE เป็นประโยชน์ทั้งกับการทำงานแบบ Remote Work และภายในสำนักงาน โดย SASE มอบการเข้าถึงการเข้าถึงทรัพยากรคลาวด์ที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

4. จำเป็นต้องสละความปลอดภัยแบบOn-Premise เพื่อใช้งาน SASE บนคลาวด์

ในการใช้งาน SASE องค์กรไม่จำเป็นต้องละทิ้งมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบ On-Premise แต่สามารถผสานรวมอย่างราบรื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

5. การใช้ SASE หมายถึงการละเลยเทคโนโลยีความปลอดภัยอื่นๆ

SASE สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีความปลอดภัยอื่นๆ เช่น การตรวจจับและตอบสนองที่จุดปลายทาง (Endpoint Detection and Response) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยโดยรวม

กรณีการใช้งาน SASE ที่พบได้บ่อย

  • ป้องกันภัยคุกคามสำหรับสำนักงานที่กระจายตัวและพนักงานระยะไกล: SASE ใช้นโยบายความปลอดภัยที่สม่ำเสมอสำหรับผู้ใช้งานในระบบทั้งหมด โดยกรองและตรวจสอบ Traffic ภายในเครือข่ายเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่างๆ
  • การปกป้องข้อมูลตามข้อปฏิบัติและกฎระเบียบ: SASE ทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบ Request ในการเข้าถึงเครือข่าย จึงช่วยให้สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการบังคับใช้นโยบาย
  • การเชื่อมต่อสาขาที่ง่ายขึ้น: องค์กรสามารถนำ SASE มาปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างสาขาให้ง่ายขึ้นโดยแทนที่วงจร MPLS และอุปกรณ์ที่ซับซ้อน อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างไซต์

ความแตกต่างระหว่าง SASE และ SSE

  • SASE (Secure Access Service Edge): SASE ผสานรวมมาตรการความปลอดภัยทั้ง SD-WAN, SWG, CASB, NGFW และ ZTNA สำหรับการเข้าถึงแบบ Zero-Trust โดยอิงจากตัวตนของอุปกรณ์และบริบทแบบเรียลไทม์
  • SSE (Security Service Edge): SSE มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ บริการคลาวด์ และแอปพลิเคชันส่วนตัว โดย SSE มักมาก่อนการติดตั้ง SASE แบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่มีการตั้งค่า SD-WAN ที่เป็นระบบ ซึ่งอาจเลือกใช้องค์ประกอบ SASE แต่ละส่วนในตอนแรก แพลตฟอร์มบางอย่างอาจมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น
    • Remote Browser Isolation (RBI): ป้องกันการดาวน์โหลดมัลแวร์และช่องโหว่ของเบราว์เซอร์
    • Data Loss Prevention (DLP): ตรวจจับข้อมูลที่ละเอียดอ่อนในเว็บไซต์ SaaS และแอปพลิเคชันส่วนตัว
    • Digital Experience Monitoring (DEM): ระบุปัญหาการเชื่อมต่อและการหยุดทำงาน

โซลูชัน Sangfor Access Secure

โซลูชัน Sangfor Access Secure มอบการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยบนคลาวด์สำหรับสำนักงานใหญ่ สาขา และผู้ใช้ระยะไกล โดย Sangfor Access Secure ให้ความปลอดภัยเครือข่ายจากมัลแวร์ ไวรัส และแรนซัมแวร์ แพลตฟอร์มนี้สามารถตรวจสอบการจราจรทั้งหมด ทั้งภายนอกและภายใน พร้อมปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามภายในทุกรูปแบบ

  • การเชื่อมต่อที่ราบรื่น: Sangfor Access Secure เชื่อมต่อสำนักงานสาขาอย่างปลอดภัยและราบรื่น โดยออกแบบตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าและแนวทางจาก Gartner ปัจจุบัน แพลตฟอร์ม SASE จาก Sangfor Access ให้บริการลูกค้ากว่า 100,000 ราย ที่ดำเนินการสาขาและสำนักงานในสถานที่ห่างไกลที่สุด ไม่ว่าจะข้ามทวีป มหาสมุทร หรือพรมแดนประเทศ ผู้ใช้ระยะไกลเพียงแค่ติดตั้ง Client ขนาดเล็กอุปกรณ์ของตนก็สามารถเชื่อมต่อและได้รับการปกป้องจาก Sangfor Access Secure
  • ความปลอดภัยขั้นสูง: ด้วย Sangfor Access Secure ผู้ใช้งานจะได้รับการปกป้องอย่างต่อเนื่องจากมัลแวร์ แรนซัมแวร์ และการโจมตีทางไซเบอร์ ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้งานได้อย่างง่ายดาย เพื่อค้นพบการใช้งานแอปพลิเคชัน แบนด์วิดธ์ หรือการรั่วไหลของข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลเพียงใด
  • คุ้มค่า: Sangfor Access Secure สามารถช่วยลดต้นทุน ด้วยโมเลดการชำระเงินแบบ Pay-as-You-Grow ตามการเติบโต ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดตามความจำเป็นและประหยัดต้นทุนสำหรับฟังก์ชันหรือการอัปเกรดที่สำคัญอื่นๆ
  • การวิเคราะห์แบบ Active Analytic: ท้ายที่สุด แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ของ Sangfor ติดตามการรั่วไหลของข้อมูลและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง เพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่ซ่อนอยู่ โดยแพลตฟอร์มนี้ทำงานร่วมกับ Neural-X เพื่อค้นหาภัยคุกคามที่มองไม่เห็นภายในเครือข่ายก่อนที่จะสร้างความเสียหายได้ในกับองค์กร

กรณีศึกษาโซลูชัน Sangfor Access Secure (SASE)

Emily เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท SaaS ที่ใช้โมเดลการทำงานแบบไฮบริด แต่เธอเผชิญกับความท้าทายด้านการเชื่อมต่อไอทีในชีวิตการทำงานประจำวัน ซึ่ง Sangfor Access Secure พร้อมช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว สามารถรับชมวิดีโอเพื่อเรียนรู้ว่าโซลูชัน Sangfor Access Secure ช่วยให้ Emily ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในทุกอุปกรณ์และแพลตฟอร์มได้อย่างไร

Secure Access Service Edge จะอยู่กับเราไปอีกนาน และ Sangfor ภูมิใจนำเสนอโซลูชัน SASE ที่ล้ำสมัยและเป็นนวัตกรรมที่สุดด้วย Sangfor Access Secure สำหรับองค์กรในทุกอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้สำหรับองค์กร สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประมวลผลแบบคลาวด์ของ Sangfor ได้ที่ www.sangfor.com

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Glossaries

Cyber Security

What Is Enterprise Mobility Management (EMM)?

Date : 04 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

What is Secure Remote Access?

Date : 03 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

Disaster Recovery Site คืออะไร สำคัญกับข้อมูลของเราอย่างไร

Date : 23 Dec 2024
Read Now

See Other Product

Cyber Command - NDR Platform - Sangfor Cyber Command - แพลตฟอร์ม NDR
Sangfor Endpoint Secure
Internet Access Gateway (IAG)
Sangfor Network Secure - Next Generation Firewall (NGFW)
Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE