ในโลกยุคปัจจุบัน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน แล้วบริษัทต่างๆ มักประสบปัญหาในการรับมือกับความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มากเกินไป เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจมากกว่าด้านอื่นๆ ส่งผลให้เกิดช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์หลายประการ ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ Security Operations Center (SOC) จึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกองค์กร

SOC คืออะไร (What Is a Security Operations Center)?

ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ SOC (Security Operations Center) คือ ศูนย์กลางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร โดย SOC ประกอบไปด้วย ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ควบคุม เฝ้าระวัง และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร ซึ่งทีมนี้อาจเป็นได้ทั้งทีมภายนอก (Outsourced) หรือทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในองค์กรเอง โดยในการทำงานของ SOC มีจุดประสงค์หลัก คือ รักษาความปลอดภัยและปกป้ององค์กร โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจะคอยตรวจสอบทุกๆ ดิจิทัลอินเทอร์เฟซ (Digital Interface) ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือช่องโหว่ต่างๆ ช่วยให้การป้องกันข้อมูล การดำเนินงาน และข่าวกรองด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Security Operations Center มีความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ และจัดการกับภัยคุกคามเหล่านั้นได้ทันที ในอีกมุมหนึ่ง SOC ยังทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันแบบรวมศูนย์ และประสานงานเพื่อป้องกันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลขององค์กร

Security Operations Center (SOC)

หน้าที่หลักของ SOC

ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ SOC ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข่าวกรองทางไซเบอร์ขององค์กร มีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Devices) ดำเนินการค้นหาภัยคุกคามเชิงรุก และดูแลความปลอดภัยโดยรวมของเครือข่าย โดยการทำงานของ SOC ครอบคลุมหน้าที่หลากหลายด้าน ดังนี้

1. การบำรุงรักษาเชิงรุก (Active Maintenance)

Security Operations Center (SOC) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษามาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ โดยทีมจะต้องคอยอัปเดตซอฟต์แวร์ ติดตั้ง แพทช์ (Patch) ความปลอดภัย และดูแลรักษา Firewall การจัดการบัญชีดำ (Blacklisting) บัญชีขาว (Whitelisting) รวมถึงนโยบายความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการบำรุงรักษาจะช่วยให้มั่นใจว่าจุดปลายทางที่มีความเสี่ยงได้รับการป้องกัน แพลตฟอร์มความปลอดภัยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และข้อบกพร่องในระบบถูกค้นพบและแก้ไขอย่างรวดเร็ว

2. การเฝ้าระวัง (Monitoring)

หนึ่งในฟังก์ชันหลักของ SOC คือ ความสามารถในการเฝ้าระวังกิจกรรมตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเฝ้าระวังเชิงรุกช่วยให้เครือข่ายมีความปลอดภัยมากขึ้นและเข้าใจกิจกรรมของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น โซลูชัน SIEM (Security Information and Event Management) เคยเป็นพื้นฐานหลักในการเฝ้าระวังและตรวจจับสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โซลูชัน SIEM เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ SOC ที่ดีจะต้องใช้เครื่องมือการเฝ้าระวังขั้นสูงที่รวมถึง SIEM หรือแพลตฟอร์ม EDR (Endpoint Detection and Response) การนำ XDR (Extended Detection and Response) หรือโซลูชัน SOAR มาใช้จะยิ่งดีสำหรับองค์กร เนื่องจากให้ข้อมูลการวัดระยะไกลและการเฝ้าระวังโดยละเอียด พร้อมการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยอัตโนมัติ ปัจจุบัน Sangfor Platform-X เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รวมความสามารถเหล่านี้ไว้อย่างครบครัน

3. การจัดการและป้องกันทรัพยากร

SOC จำเป็นต้องรู้ว่าสินทรัพย์ใดบ้างที่ต้องได้รับการป้องกันและต้องใช้เครื่องมือใดในการรักษาความปลอดภัย ซึ่งทีม SOC ต้องมองเห็นเครือข่ายทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าทุกจุดปลายทาง (Endpoint) และองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลได้รับการดูแลและรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ

4. การจัดการบันทึก (Log)

ข้อมูลกิจกรรมดิจิทัลทั้งหมดของเครือข่ายจะถูกบันทึกและจัดเก็บโดย SOC เพื่อช่วยทีมในการกำหนดเกณฑ์พื้นฐานว่า อะไรคือสิ่งปกติ และอะไรที่เป็นเหตุการณ์ผิดปกติ อีกทั้งการบันทึกยังช่วยให้ SOC ค้นหาจุดอ่อนหรือกิจกรรมเฉพาะหลังจากการโจมตีทางไซเบอร์ ช่วยระบุพื้นที่ที่ต้องปรับปรุงและชี้จุดที่ถูกโจมตี ข้อมูลที่บันทึกไว้ควรได้รับการตีความและวิเคราะห์อย่างถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อตัดสินใจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีขึ้น

5. การปฏิบัติตามกฎระเบียบ

SOC ต้องช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าขั้นตอนและการเฝ้าระวังทั้งหมดเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นตัวบริษัทเอง กฎข้อบังคับของรัฐบาล หรือกฎของอุตสาหกรรมก็ตาม เช่น GDPR, PCI DSS และ HIPAA เป็นต้น โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้อย่างถูกต้อง สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ข้อมูลลูกค้า อีกทั้งยังป้องกันบริษัทจากความเสียหายทางกฎหมายและชื่อเสียง นอกจากนี้ SOC ยังมีหน้าที่ในการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและลูกค้าทราบทันทีหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

6. การตอบสนองต่อเหตุการณ์

การตอบสนองต่อเหตุการณ์ หมายถึง การดำเนินการด้านการรักษาความปลอดภัยทันทีโดยทีม SOC ซึ่งหลังจากพบภัยคุกคาม SOC มีหน้าที่แยกผู้โจมตี (Threat Actor) พร้อมรักษาความปลอดภัยในจุดปลายทางและแอปพลิเคชันเป็นอันดับแรก จากนั้นต้องลบไฟล์ที่ติดไวรัสและเรียกใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส พร้อมทั้งแยกเครือข่ายทั้งหมดออกจากภัยคุกคาม เป้าหมายของแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์คือการจำกัดความเสียหายและรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานให้มากที่สุด

7. การจัดลำดับความสำคัญของการแจ้งเตือน

SOC ยังรับผิดชอบในการจัดลำดับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ตามระดับความรุนแรง ช่วยให้ทีมสามารถจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามที่มีความเสียหายมากกว่า ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาและยกระดับความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

8. การจัดการข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence Management)

การเตรียมพร้อมเป็นส่วนสำคัญของ SOC สมาชิกทุกคนต้องติดตามข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับภัยคุกคามและการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ข่าวกรองภัยคุกคามจะช่วยให้มั่นใจว่า SOC พร้อมรับมือกับมัลแวร์ การโจมตี หรือการละเมิดในรูปแบบต่างๆ

9. Root Cause Investigation

การสืบหาสาเหตุเป็นส่วนสำคัญของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ของ SOC โดยทีมต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์หลังจากที่เกิดขึ้น โดย SOC จะอาศัยการติดตามบันทึกและข้อมูลอื่นๆ ที่รวบรวมไว้เพื่อค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นอย่างไร และทำไมจึงเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทีมปรับปรุงจุดอ่อนและประเมินความมั่นคงทางไซเบอร์และโปรโตคอลที่มีอยู่

10. การกู้คืนและแก้ไข

หลังจากเกิดเหตุการณ์ ทีม SOC ต้องวางแผนในการกู้คืนการดำเนินงานอย่างรวดเร็วและกู้คืนข้อมูลที่ถูกขโมย ต้องทำความสะอาดและรักษาความปลอดภัยเครือข่ายทั้งหมด ดำเนินการสำรองข้อมูลและกู้คืนจากภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนนี้ยังรวมถึงการสื่อสารกับผู้บริหารและหารือเกี่ยวกับตัวเลือกด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีขึ้นหากจำเป็น

บทบาทของสมาชิกในทีม Security Operations Center

จากที่กล่าวไปข้างต้น เราจะเห็นว่าสมาชิกใน SOC มีหน้าที่ความรับผิดหลากหลายด้านในองค์กร ตั้งแต่การเฝ้าระวังและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ไปจนถึงการแก้ไข การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการประสานงาน ทำให้งานเกี่ยวกับ SOC เป็นงานที่มีความท้าทาย ด้วยเหตุนี้ การมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจถึงบทบาทของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทีม SOC สามารถแบ่งออกเป็นบทบาทต่างๆ ดังนี้

  • ผู้จัดการ SOC (SOC Manager): ผู้จัดการ SOC มีหน้าที่มอบหมายงาน ดูแลการปฏิบัติงาน และรายงานต่อประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยสารสนเทศ (Chief Information Security Officer)
  • วิศวกรด้านความปลอดภัย (Security Engineers): เป็นสมาชิกที่สร้างและดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยทั้งหมด โดยจะทำงานใกล้ชิดกับนักพัฒนาและทำให้มั่นใจว่าองค์กรใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เช่น Sangfor Platform-X และเครื่องมืออื่นๆ
  • นักวิเคราะห์ความปลอดภัย (Security Analysts): มักเป็นกลุ่มแรกที่ต้องรับมือกับภัยคุกคามหรือเหตุการณ์ทางไซเบอร์ มีหน้าที่ตรวจจับ สืบสวน และจัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ ข้อค้นพบจากสมาชิกกลุ่มนี้จะแจ้งให้ SOC ทราบถึงขั้นตอนต่อไปในการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย กลุ่มนี้ประกอบด้วยนักวิเคราะห์ SOC ทั้งระดับจูเนียร์และอาวุโส นักสืบสวน และผู้ตอบสนองต่อเหตุการณ์
  • นักล่าภัยคุกคาม (Threat Hunters): การล่าภัยคุกคามเป็นแผนกหนึ่งในทีม SOC สมาชิกกลุ่มนี้มีทักษะในการวิเคราะห์ความปลอดภัยและทดสอบการเจาะระบบ นักล่าภัยคุกคามสามารถทำงานร่วมกับทีมทั้งด้านเทคนิคและไม่ใช่ด้านเทคนิคเพื่อช่วยองค์กรป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์
  • ผู้จัดการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (CTI Manager): สมาชิกทีมนี้จะรับผิดชอบการรวบรวมและดูแลข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาเครื่องมือและกลยุทธ์ที่สามารถคาดการณ์ภัยคุกคามและสนับสนุนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

นอกจากหน้าที่ความรับผิดชอบเหล่านี้ หนึ่งในข้อดีของ SOC คือ ความยืดหยุ่นในการปรับขนาดทีม โดยขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาจมีทีมขนาดใหญ่ขึ้นที่ทำหน้าที่ในบทบาทอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

SOC (Security Operations Center) คืออะไร?

โซลูชันด้านความปลอดภัยจาก Sangfor

การสร้างศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ SOC ที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรของคุณ และยิ่งไปกว่านั้น คือ การเตรียมพร้อมทีมด้วยโซลูชันและแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีคุณภาพ โดย Sangfor Technologies เป็นผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการประมวลผลแบบคลาวด์ (Sangfor Platform-X) ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทีม SOC ของคุณ เราเข้าใจถึงภัยคุกคามที่มีอยู่และรู้วิธีรักษาความปลอดภัยให้องค์กรของคุณ ด้วยโซลูชันที่เป็นเอกลักษณ์ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพสูง ได้แก่

  • Cyber Command (NDR) จาก Sangfor ช่วยในการเฝ้าระวังมัลแวร์ เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยตกค้าง และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตในเครือข่ายของคุณ พร้อมด้วยอัลกอริทึม AI ขั้นสูงที่คอยอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับช่องโหว่หรือภัยคุกคามที่ตรวจพบในระบบอย่างสม่ำเสมอ
  • เทคโนโลยี Endpoint Secure ขั้นสูงของเรายังมอบการป้องกันแบบบูรณาการจากการติดมัลแวร์และการโจมตีขั้นสูงแบบต่อเนื่อง (APT) ครอบคลุมทั้งเครือข่ายขององค์กร พร้อมการจัดการ การดำเนินงาน และการบำรุงรักษาที่ง่ายดาย
  • บริการ Incident Response ของเรามุ่งเน้นการกำจัดและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่การค้นหาและกำจัดภัยคุกคาม พร้อมทั้งดำเนินการกู้คืนจากภัยพิบัติเชิงรุกและให้การวิเคราะห์ที่ปรับแต่งเพื่อช่วยปกป้องบริษัทของคุณจากการโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต
  • เรายังนำเสนอโซลูชัน Security Assessment ในการประเมินความปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจในความสามารถขององค์กรในการกู้คืนจากเหตุการณ์ นอกจากนี้ Sangfor ยังมีเครื่องมือตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามขั้นสูงที่หลากหลาย ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันและประสานงานกับ Security Operations Center ของคุณเพื่อให้มั่นใจในการป้องกันที่ดีที่สุด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประมวลผลแบบคลาวด์ของ Sangfor สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sangfor.com/th

ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลทางธุรกิจ

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Glossaries

Cyber Security

What Is Enterprise Mobility Management (EMM)?

Date : 04 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

What is Secure Remote Access?

Date : 03 Jan 2025
Read Now
Cyber Security

Disaster Recovery Site คืออะไร สำคัญกับข้อมูลของเราอย่างไร

Date : 23 Dec 2024
Read Now

See Other Product

Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE
Sangfor SSL VPN
Best Darktrace Cyber Security Competitors and Alternatives in 2024
Sangfor Omni-Command
Sangfor Endpoint Secure แอนตี้ไวรัสยุคใหม่ (NGAV) สำหรับองค์กรของคุณ