ในยุคปัจจุบันที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้คนจึงต้องใช้เครื่องมือและทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟร์วอลล์ (Firewall) ระบบ EDR หรือ MDR, Data Loss Prevention และอื่นๆ เพื่อปกป้องตัวเองจากมิจฉาชีพและแฮกเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ ที่มีความสามารถในการหลอกล่อมากกว่าที่หลายคนคาดการณ์
แน่นอนว่าการแฮก (Hack) เข้าสู่ระบบหรือเครือข่ายต้องใช้ทักษะ รวมถึงความเข้าใจ และเครื่องมือเฉพาะทาง ทำให้ยากต่อการป้องกันหรือจัดการกับภัยเหล่านี้ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ทำให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการปกป้องข้อมูล และแฮกเกอร์ขาวนี่เอง (White Hat Hackers) ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์
การแฮกสายขาว (White Hat Hacking) หมายความว่าอะไร?
การแฮกสายขาว (White Hat Hacking) เป็นการแฮกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม โดยเป็นการใช้แฮกเกอร์มืออาชีพที่ได้รับการว่าจ้างอย่างถูกกฎหมายจากบริษัทหรือองค์กร เพื่อพยายามเจาะเข้าไปในระบบของบริษัทนั้นๆ โดยไม่ได้มีการประสงค์ร้ายแต่อย่างใด แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถค้นหาจุดอ่อนและช่องโหว่ในระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
เมื่อแฮกเกอร์สายขาวทำการเจาะเข้าไปในระบบได้แล้ว พวกเขาจะทำการประเมินความเสี่ยงของมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ ทดสอบระบบความปลอดภัย พร้อมเสนอแนะจุดอ่อน วิธีการปรับปรุง และพัฒนามาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงให้คำปรึกษาและฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของความปลอดภัย โดยเฉพาะในจุดสำคัญของระบบ
แฮกเกอร์สายขาว (White Hat Hackers) คือใคร?
แฮกเกอร์สายขาว คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีความสามารถในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โดยแฮกเกอร์กลุ่มนี้ใช้ความรู้และทักษะนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ดี ไม่ผิดหลักจริยธรรมเหมือนแฮกเกอร์ที่เราคุ้นชินกันทั่วไป โดยแฮกเกอร์สายขาวมักจะได้รับการว่าจ้างจากองค์กรหรือบุคคล เพื่อช่วยในการตรวจสอบและเสริมสร้างความปลอดภัยของระบบ
ทั้งนี้ แฮกเกอร์สายขาวอาจจะเคยเป็นอาชญากรทางไซเบอร์ หรือแฮกเกอร์สายดำ (Black Hat Hacker) มาก่อนก็ได้ โดยเมื่อแฮกเกอร์สายขาวสามารถช่วยขัดขวางการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรืออาจช่วยระบุมัลแวร์ (Malware) อย่างเช่น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), โทรจัน (Trojan), เวิร์ม (Worm) หรืออื่นๆ ที่ฝังอยู่ในระบบ เพื่อช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล
การแฮกแบบสายขาว (White Hat Hacking) ถือว่าถูกตามจริยธรรมหรือไม่?
เมื่อได้ยินคำว่า “แฮก” (Hack) หลายคนมักจะนึกถึงผู้ร้ายหรืออาชญากรรมทางไซเบอร์ทันที แต่ไม่ใช่การแฮกทุกครั้งที่เป็นสิ่งไม่ดี การแฮกสายขาว (White Hat Hacking) เป็นการแฮกที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการแฮกเข้าระบบที่ได้รับอนุญาตอย่างชัดเจนจากเจ้าของระบบ
แม้ว่าแฮกเกอร์สายขาวจะใช้ทักษะหรือเครื่องมือเดียวกันกับอาชญากรทางไซเบอร์ แต่พวกเขานั้นมีใบอนุญาตและได้รับการอนุญาตในการทำงานอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ แฮกเกอร์สายขาวยังให้ความเคารพต่อกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ข้อมูลอันเป็นความลับ และความปลอดภัยของผู้ใช้งานอีกด้วย
ความแตกต่างระหว่างแฮกเกอร์สายขาว (White Hat Hackers) และแฮกเกอร์สายดำ (Black Hat Hackers)
แฮกเกอร์สายดำ (Black Hat Hacker) เป็นแฮกเกอร์ที่มุ่งร้ายต่อระบบ แฮกเกอร์สายดำจะทำการเข้าถึงระบบโดยผิดกฎหมาย ติดตั้งมัลแวร์ และขโมยข้อมูล หรือหากให้พูดง่ายๆ ความแตกต่างหลักระหว่างแฮกเกอร์สายขาวและแฮกเกอร์สายดำคือแรงจูงใจในการแฮกนั่นเอง
เทคนิคการแฮกสายขาว (White Hat Hacking)
เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่แฮกเกอร์สายขาวใช้ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องมือเดียวกันกับที่แฮกเกอร์สายดำใช้ เช่น
1. การทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Testing)
การทดสอบเจาะระบบ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "Pen Testing" เป็นการจำลองการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบ เพื่อวัดประเมินผลการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ เทคนิคนี้มักถูกใช้โดยองค์กรหรือแฮกเกอร์สายขาวในการประเมินความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
2. อีเมลฟิชชิ่ง (Email Phishing)
การหลอกลวงประเภทฟิชชิ่ง (Phishing) ถือเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ โดยแฮกเกอร์สายขาวสามารถทำการฟิชชิ่ง อย่างถูกกฎหมาย เรียกกันว่า "Anti-phishing Campaigns" เพื่อค้นหาจุดอ่อนในเครือข่าย และวางแผนการป้องกันต่อไป นอกจากนี้ยังถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการสร้างความตระหนักให้กับพนักงานในองค์กร เพื่อปลูกฝังนิสัยและความระวังภัยทางไซเบอร์ที่ดี
3. การโจมตี DoS และ DDoS
การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) หรือ Distributed Denial-of-Service (DDoS) มีเป้าหมายเพื่อหยุดการทำงานของระบบ เทคนิคนี้แฮกเกอร์สายขาวจะนำมาใช้เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของบริษัทและพนักงานต่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่จำลองขึ้นมา รวมถึงให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการตอบสนองและการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร
4. วิศวกรรมสังคม (Social Engineering)
การโจมตีแบบวิศวกรรมสังคมหรือ Social Engineering Attack เป็นการฉวยโอกาสใช้ความไว้วางใจ ความอยากรู้อยากเห็น หรือความกลัวของเหยื่อที่ไม่ทันระวังตัว เพื่อดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์ โดยอาศัยใช้ความผิดพลาดของมนุษย์และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในโลกไซเบอร์เป็นหลัก แฮกเกอร์สายขาวอาจใช้วิธีนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมของพนักงาน และหาจุดอ่อนในทีม พร้อมให้คำแนะนำและหาวิธีพัฒนาต่อไป
5. การสแกนความปลอดภัย (Security Scanning)
แฮกเกอร์สายขาวสามารถใช้เครื่องมือสแกนต่างๆ เพื่อระบุจุดอ่อนในระบบโดยอัตโนมัติ เมื่อได้ผลจากการสแกนมาแล้ว องค์กรก็สามารถร่างแผนรับมือไซเบอร์ที่ดีกว่าเดิม หรือลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ แฮกเกอร์สายขาวยังสามารถใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เช่น Documented Public Rootkits, Attack Decoys, Spoofing Protocols และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อทดสอบระบบความปลอดภัยและค้นหาช่องโหว่ของระบบ
อยากเป็น White Hat Hackers ต้องทำอย่างไร?
การมีทักษะที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะเป็นแฮกเกอร์หมวกขาว คล้ายกับอาชีพอื่นๆ อาชีพนี้มีข้อกำหนดที่หลากหลาย โดยใบรับรองหรือโปรแกรมพื้นฐานที่อาจจำเป็นหรือที่ควรศึกษาเพื่อเป็นแฮกเกอร์หมวกขาว ได้แก่
- ปริญญาตรีหรือปริญญาโทด้านความปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) หรือคณิตศาสตร์ (Mathematics)
- ใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH) จาก EC-Council
- จบหลักสูตร SANS GIAC
- จบหลักสูตร Mile2 Cybersecurity Certification Roadmap
- จบหลักสูตรใดๆ ในด้านนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การพัฒนา และอื่นๆ
- ประกาศนียบัตร Computer Hacking Forensic Investigator (CHFI)
- ประกาศนียบัตร GIAC Certified Forensics Analyst (GCFA)
- ประกาศนียบัตรช่างเทคนิคนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักสืบสวนอาชญากรรมคอมพิวเตอร์จากเครือข่าย High Tech Crime Network (HTCN)
นอกเหนือจากข้อกำหนดและประกาศนียบัตรต่างๆ White Hat Hacker ก็ควรมีทักษะทางสังคมและมารยาทที่แสดงถึงความน่าไว้วางใจ โดยคุณสมบัติส่วนบุคคลที่จำเป็น ได้แก่
- ความเข้าใจในจรรยาบรรณของ EC-Council
- มีความซื่อสัตย์ที่จะทำในสิ่งที่ถูกกฎหมายและถูกต้องเสมอ
- ความมุ่งมั่นที่จะไม่เกี่ยวข้องกับแฮกเกอร์ที่ผิดจริยธรรม ทำกิจกรรมที่เป็นอันตราย หรือมีพฤติกรรมอาชญากรรม
- มีทักษะการแก้ปัญหาและการจัดการที่ยอดเยี่ยม
- มีทักษะการสื่อสารที่ดี
- สามารถทำงานได้ทั้งแบบอิสระและเป็นทีม
- สามารถทำงานภายใต้ความกดดันหรือสถานการณ์ตึงเครียดได้ดี
Sangfor Technologies นำเสนอบริการในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครบวงจรของ ในราคาประหยัด และทรงประสิทธิภาพ จากผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจภัยคุกคามเป็นอย่างดี โดยบริการของเราครอบคลุมทุกมิติ ทั้ง Sangfor NGFW (Next Generation Firewall), EDR, MDR, Access Control และอื่นๆ
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้าน Cyber Security และ Cloud Computing จาก Sangfor ได้ที่ www.sangfor.com