มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: การยกระดับระบบบริหารจัดการการใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์
ภาพรวม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ ม.สารคาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 และมหาวิทยาลัยแห่งที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น 203 หลักสูตร ใน 20 คณะและเทียบเท่า มหาวิทยาลัยมหาสารครามมีนิสิตในคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้วประมาณ 40,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนิสิตมากที่สุดของประเทศ
Source: https://green.msu.ac.th/msugallery/compact-gallery/compact-gallery.html
ความท้าทาย
เมื่อในช่วงที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความต้องพัฒนาระบบยืนยันตัวตน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประกอบกับการยืนยันตัวตนที่ใช้อยู่บนไฟร์วอลล์ ไม่สามารถรองรับการยืนยันตัวตนที่หลากหลายเช่น อุปกรณ์มือถือ, แท็บเล็ต และอื่น ๆ มหาวิทยาลัยจึงต้องการระบบที่ตอบโจทย์กับความต้องการดังกล่าว
ในเวลาเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดหาระบบไฟร์วอลล์เข้ามาทดแทนระบบเดิม เนื่องจากระบบดังกล่าวใช้งานมาหลายปี จนใกล้หมดการสนับสนุนจากผู้ผลิต (End of support) และไม่มีบริการหลังการขายจากผู้ผลิตในประเทศ มหาวิทยาลัยจึงต้องการปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางเครือข่าย และเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้งานที่ซับซ้อน และรับมือกับภัยคุกคามขั้นสูงทางไซเบอร์ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเป็นแบบรวมศูนย์
โซลูชั่นสำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคราม
Sangfor ได้มีการนำเสนอและออกแบบระบบแบบรวมศูนย์ ประกอบไปด้วยโซลูชั่น ดังนี้
ระบบบริหารจัดการการใช้งานอินเทอร์เน็ต Internet Access Gateway (IAG) เพื่อรองรับการยืนยันตัวตนจากอุปกรณ์ที่หลากหลายเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, มือถือ, แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมถึงใช้โซลูชั่นดังกล่าวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต
ระบบความปลอดภัยทางเครือข่าย และเว็บไซต์ Next Generation Application Firewall และ Web Application Firewall เพื่อเสริมความปลอดภัย ให้สอดคล้องกับการรูปแบบการใช้งานที่ซับซ้อน และภัยคุกคามขั้นสูง ทั้งในระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และเว็บแอพพลิเคชั่นจากการโจมตีต่างๆ
ระบบความปลอดภัยเครื่องลูกข่าย และเครื่องแม่ข่าย Endpoint Detection and Response ให้ทำงานร่วมกันกับโซลูชั่นอื่น ๆ ภายในองค์กร (Extended Detection and Response) เพื่อยกระดับการป้องกัน และการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้นแบบรวมศูนย์
จากการใช้งานจริงมาอย่างยาวนาน มหาวิทยาลัยสามารถใช้งานระบบการบริหารจัดการได้ง่าย, มีความหยืดหยุ่น และสามารถป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี