มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์: การปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบรวมศูนย์เพื่อรองรับการใช้งานแอพพลิเคชันใหม่และระบบไอทีในองค์กร
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นั้นเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมชื่อว่า โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ หรือ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนน พหลโยธิน โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยซึ่งอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โดยรวมมีพนักงานและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 6,600 คน และให้บริการการศึกษาแก่นักศึกษาทั้งหมด 10 คณะ เช่น คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะวิทยาการจัดการ เป็นต้น
Source: https://www.linkedin.com/company/valaya-alongkorn-rajabhat-university/about/
ความท้าทาย Business Pain Points
เนื่องด้วยปัจจุบันนี้สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ที่ทางมหาวิทยาลัยได้ใช้งานอยู่นั้นประกอบได้ด้วย ระบบเซิร์ฟเวอร์แบบเก่าที่ไม่ได้มีการรวมทรัพยากรต่างๆไว้ในระบบเดียวกันและระบบ Hypervisor เดิมที่มีการใช้งานอยู่แล้ว โดยระบบที่มีการใช้งานอยู่นั้นไม่สามารถรองรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นใหม่ที่มีแผนว่าจะนำมาใช้กับองค์กรภายในได้ เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ) เนื่องจากประสิทธิภาพและทรัพยากรโดยรวมของระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้นไม่เพียงพอเพื่อรองรับปริมาณงานจากแอปพลิเคชันใหม่ นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลจากทางลูกค้าอยู่ 3 ประเด็นด้วยกันดังนี้
1. ด้านเทคนิค
- ความต่อเนื่องของแอปพลิเคชัน ต้องทำงาน 24×7 ไม่ สามารถ หยุด ทำงาน ได้
- ระบบสำรองข้อมูลเพื่อรองรับหากมีข้อมูลเสียหาย เพื่อให้สามารถกู้คืนระบบได้โดยเร็วที่สุด
- ความปลอดภัยและความกังวลเกี่ยวกับแฮ็กเกอร์หรือแรนซัมแวร์ที่อาจถูกโจมตีได้หากไม่มีระบบป้องกันด้านความปลอดภัย
2. ด้านธุรกิจ
- ความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ทางมหาวิทยาลัยอาจได้รับผลกระทบ หากเกิดเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ครูผู้สอนไม่สามารถสอนจากการที่ระบบหยุดทำงานหรือนักเรียนไม่สามารถใช้งานระบบแอพพลิเคชั่นเพื่อเรียนจากแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นทางการศึกษา เช่น ระบบ E-Learning ได้ชั่วขณะ ก็ทำให้ทางมหาวิทยาลัยศูนย์เสียโอกาสและรายได้จากจุดนี้ไป นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีงบประมาณจำกัดในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่อีกด้วย
3. ด้านกฏหมาย
- เนื่องจากกฎหมายทางด้านไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA ในประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาล สถานศึกษาก็เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจกลุ่มแรกที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายอย่างรวดเร็ว
โซลูชั่นของ Sangfor’s Solution
Sangfor ได้มีการนำเสนอและสร้างระบบใหม่ให้กับทางมหาวิทยาลัย โดยเสนอผลิตภัณฑ์ aServer 3 โหนด พ่วงด้วยชุดซอฟต์แวร์ Hyper-Converged Infrastructure (HCI) เพื่อแทนระบบเดิมที่มีอยู่ด้วยโซลูชันการรวมศูนย์ข้อมูลใหม่ รองรับการใช้งานทั้งแอปพลิเคชัน ERP ใหม่และที่มีอยู่เดิม เช่น ระบบ Admission, ระบบการลงทะเบียน, ระบบ E-learning, ระบบการเรียนการสอน, ระบบ File share, ระบบการเงินและการบัญชี โดยแอพพลิเคชั่นทั้งหมดสามารถ ทำงานบนระบบ HCI ระบบใหม่นี้อย่างสมบูรณ์เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้งานในด้านประสิทธิภาพและลดข้อกังวลของทางมหาวิทยาลัยได้ดังนี้
a. Downtime >> ระบบ HA บนเซิร์ฟเวอร์
b. ระบบสำรองข้อมูล >> มี RTO < 5 นาที และ RPO = 1 ชม
c. ด้านความปลอดภัย >> ชุด Sangfor HCI พร้อม Distributed Firewall
โดยหลังจากที่เราได้มีการนำเสนอและสร้างระบบให้กับทางมหาวิทยาลัยแล้วนั้น ลูกค้าของเราก็ได้มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งสำหรับระบบ HCI ดังนี้
- ด้านความต่อเนื่องของธุรกิจ: เพราะระบบของ Sangfor สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องแบบ 24 ชั่วโมงทุกวัน และแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันยังสามารถกู้คืนได้อัตโนมัติจากระบบสำรองข้อมูลของทาง Sangfor จึงทำให้ทีมงานด้านไอทีมีความสบายใจเกี่ยวกับความต่อเนื่องของบริการและใช้งานแอปพลิเคชันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ด้านกฏหมาย PDPA: เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาล จึงได้มีการใช้ระบบ HCI จากทาง Sangfor ที่มีระบบสำรองข้อมูลเพื่อปกป้องข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามนโยบาย PDPA